การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) คืออะไร

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) คือ กระบวนการวิเคราะห์ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อตรวจสอบสิ่งที่เชื่อว่าถูกหรือผิด ( แปลจาก Oxford Dictionary)  ในขณะที่ Cambridge  Dictionary ได้อธิบายความหมายของการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ว่าคือ กระบวนการคิดด้วยความระมัดระวังเกี่ยวกับประเด็นหรือหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยไม่ให้ความรู้สึกหรือความเห็นส่วนตัวมากระทบกระบวนการคิด

จะเห็นได้ว่า การคิดเชิงวิพากษ์  (Critical Thinking) ในความหมายที่ใช้กันในโลกตะวันตก มีลักษณะให้ความสำคัญกับกระบวนการ ให้ความสำคัญกับความเป็นเหตุเป็นผลระมัดระวังความรู้สึกหรือความเห็นส่วนตัวจะมีอิทธิพลกับการคิด มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสิ่งที่เชื่อว่าถูกหรือผิด

ลักษณะสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์
คุณลักษณะสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์

เป้าหมายของการคิดเชิงวิพากษ์

เป้าหมายของการคิดเชิงวิพากษ์ คือ การมั่นใจว่าสิ่งที่เราเชื่อ ถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผล เรามีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจน

ในทางปฏิบัติ เรามักใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ เมื่อเรารู้สึกไม่มั่นใจในประเด็นหรือเรื่องเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง จึงไม่กล้ากระทำลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่ หรือการอยู่รวมกันที่เข้าใจไม่ตรงกันในบางประเด็น ต้องการหาทางออกด้วยกัน

 

การคิดเชิงวิพากษ์จะทำให้เราได้ความจริงชุดใหม่ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และทำให้ชีวิตดีขึ้น

เป้าหมายของการคิดเชิงวิพากษ์

 

องค์ประกอบสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์

          องค์ประกอบสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์ คือ การสะท้อน การถ่ายทอด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดใจ หรือเรียกว่า วิภาษวิธี 

            วิธีการโต้แย้งด้วยเหตุผล หรือ วิภาษวิธี  ( Dialectics) เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการสืบค้นความเป็นจริงด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง 2 คนขึ้นไปอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ได้ความกระจ่าง ความเข้าใจ ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหา

         หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยตรวจสอบการใช้เหตุผลของเรา หรือช่วยในการพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์ก็คือการแลกเปลี่ยนความคิดของเรากับผู้อื่น และรับฟังเสียงสะท้อนของผู้อื่น โดยมีหลายวิธีด้วยกันเช่น โสเครติส เฮเกล

วิภาษ์วิธีคือ
กระบวนสืบค้นความเป็นจรอง

 

วิภาษวิธี (Dialectics) แตกต่างจาก วิจารณ์ (Criticizing) อย่างไร

               วิภาษวิธี (Dialectics) จะมองว่าอารมณ์หรือความรู้สึกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ ในขณะที่วิจารณ์หมายถึง การติชม แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ข้อดีข้อด้อย การวิจารณ์ไม่รวมถึงกระบวนการการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชุด  ดังนั้น คุณภาพและคุณลักษณะของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากการวิจารณ์แตกต่างจากวิภาษวิธี

 

ข้อคิดเห็นของผู้เขียน

            ในพุทธศาสนามีคำสอนที่เกี่ยวกับการคิดหลายพระสูตรด้วยกัน เช่นกาลามสูตร กล่าวถึงการอย่าปลงใจเชื่อสิ่งใดๆ ง่ายๆ โดยไม่ใช้สติปัญญาของตนเองตรวจสอบ ผู้เขียนมีความเห็นด้วย โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างมีความไม่เที่ยง ความเป็นจริงต่างๆ ในประเด็นต่างๆ ก็เช่นกัน บางช่วงวิธีการนี้ดี บางช่วงวิธีการเดิมก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยน

         กาลามสูตรเปรียบเสมือนเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการคิดด้วยความระมัดระวัง ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ดี ในขณะที่ การคิดเชิงวิพากษ์คือทักษะของการคิดที่จะใช้ในลำดับต่อมา.

 

อ้างอิงจาก

The foundation for Critical Thinking : https://www.criticalthinking.org/pages/defining-critical-thinking/766

“การคิดเชิงวิพากษ์” คืออะไร? ทำไมถึงได้เป็นทักษะสำคัญอำดับ 2 : http://www.narasak.com/2018/01/25/what-is-critical-thinking/

Critical Thinking Skills , Skills Youneed. https://www.skillsyouneed.com/learn/critical-thinking.html