กิจกรรมส่งเสริม การให้เหตุผล ใน3 ขั้นตอน

การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย

มนุษย์ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องในเรื่องหนึ่ง เราจะพบว่า เราจะได้คำตอบที่เร็วกว่าการถามหาข้อเท็จจริง หรือการให้เหตุผล เพราะการด่วนสรุปด้วยความคิดของเราเองเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าการหาข้อมูล หรือการอธิบาย   ในเด็กก็เช่นกัน เป็นการง่ายสำหรับเด็กที่จะแสดงความเห็นหรือปฏิเสธไม่แสดงอะไรเลย เพราะง่ายกว่าการให้เหตุผล บทความนี้จะนำเสนอวิธีการฝึกให้เด็กรู้จักให้เหตุผลก่อนและการจึงให้ความคิดเห็น

  1. สอนให้รู้จักจังหวะการพูด ด้วยการทำการ์ดสี –ทำการ์ดสี 2 สีในขนาดที่ใหญ่เพียงพอ อาจเป็นสีฟ้ากับสีเหลือง โดยสมมุติ สีฟ้าแทนไม่เห็นด้วย สีเหลืองแทนเห็นด้วย หรือใช้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อื่นๆ (อย่าลืมชี้แจงกติกาให้เด็กทราบ)
  2. เริ่มต้นด้วยเหตุผลฟังปฏิเสธ (ผู้ปกครองหยิบการ์ดสีฟ้าขึ้นมาแสดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เด็กรู้)– เป็นเรื่องที่ง่ายที่จะให้เหตุผลด้านเห็นด้วยเพราะเป็นสิ่งที่ตนเองสนใจ การให้เหตุผลฟังที่ตนเองไม่เห็นด้วยก่อนจะทำให้เด็กรู้จักหยุดคิดถึงฝ่ายตรงกันข้าม คิดถึงเรื่องนั้นในมิติอื่นๆ หรือมุมมองของคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น คนรวยควรจ่ายเสียสละเพื่อคนจนหรือไม่? เด็กอาจจะตอบว่า ไม่เพราะ….. แล้วจึงให้ความคิดเห็นถึงสิ่งที่ตนเองรู้สึก
  3. เข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เห็นด้วย- (ยกการ์ดสีเหลืองเพื่อให้เด็กพูดสิ่งที่เห็นด้วย) โดยฝึกให้เด็กเรียบเรียงเหตุผล แล้วจึงแสดงความคิดเห็น

การให้เหตุผล

จากรูปแสดงให้เห็นว่า การใช้เหตุผลเป็นการท้าทายการทำงานของหัวใจ เป็นส่วนของผสมของ IQ กับ EQ ในขั้นต้นเหตุผลกับความคิดเห็นของเด็กอาจมีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะเด็กยังรู้ไม่เยอะ การสนทนา เรื่องเล่าหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จะเป็นวัตถุดิบให้เด็กค่อยๆรู้เพิ่มขึ้น เมื่อมีข้อมูลเพิ่มและเปิดให้เด็กได้ทบทวน พูดคุย ทักษะการคิดของเด็กก็จะค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นไป เคล็ดลับคือ ความสม่ำเสมอค่ะ

 

 

เครดิต How to put reasons first and opinions second from Philosophy for Children