ความมั่นคงทางอารมณ์ คืออะไร สำคัญอย่างไร

ความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) คือหนึ่งในลักษณะทางบุคลิกภาพของมนุษย์

ความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) มักถูกอ้างถึงในลักษณะบุคลิกด้านตรงกันข้ามคือ ความไม่มีเสถียรภาพทางอารมณ์ Neuroticism) เป็นหนึ่งในห้าของลักษณะบุคลิกภาพและสภาพทางจิตใจหลักของมนุษย์ (Big Five Personality Traits)  การขาดความมั่นคงทางอารมณ์สร้างผลกระทบต่อมนุษย์คือ การขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ เนื่องจากการอารมณ์กระตุ้นให้เกิดความไม่ต่อเนื่องหรือความไม่สามารถรับมือกับความทุกข์ บุคคลที่มีความมั่นคงทางอารมณ์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบได้น้อย ดังนั้น สภาพจิตใจจึงเข้มแข็งไม่วอกแวก และมีความมั่นใจในความสามารถในตนเอง

ทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพหลักของมนุษย์ 5 อย่าง เกิดจากความสนใจศึกษาบุคลิกภาพของมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1884 เซอร์ฟรานซิส กัลตัน (Sir Francis Galton) ได้เริ่มศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับรูปแบบภาษาที่ใช้  ต่อมานักจิตวิทยาเรย์มอน แคทเทล (Raymond Cattel, 1940s) ได้นำแนวคิดเรื่องการบุคลิกภาพมาจัดให้เป็นรูปธรรมแบ่งได้ 16 ลักษณะ เรียกว่า 16 ประการของบุคคล (16 personality factors)  วาเรน นอร์แมน (Warren Norman)  และเลวิส โรเบริท์ โกล์ดเบิร์ก (Lewis Robert Goldberg) ได้นำงานของเรย์มอน แคทเทล (Raymond Cattel) มาศึกษาต่อยอดจนกระทั่งใน 20 ปีต่อมา เขาสรุปว่าบุคลิกภาพมีลักษณะเด่นเพียง 5 ประการ  จนกระทั่งในปี 1993 แนวคิดเรื่องลักษณะบุคลิกภาพ 5 ประการ ได้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในยุคเทคโนโลยี ได้มีการจัดตั้งโครงการ Big Five Inventory (BFI) โดย Oliver P. John, Eileen M. Donahue and Rachel L. Kendal และนำลักษณะบุคลิกภาพมาสู่การวัดที่ชัดเจน ง่าย และมีประสิทธิภาพ รูปแบบที่ชัดเจนนี่เองทำให้ดึงดูด Christopher J. Soto ซึ่งทำงานอยู่กับ DataSine ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการทำนายบุคลิกภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณสมบัติของผู้มีความมั่นคงทางอารมณ์

  • ความสามารถในการทนต่อความล่าช้าต่อของความต้องการ
  • ความสามารถในการอดทนต่อสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ไม่ตอบสนองในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออารมณ์ไม่ดี
  • ความเชื่อในการวางแผนระยะยาว
  • ความสามารถในการชะลอหรือทบทวนความคาดหวังของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ความสามารถปรับตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพให้เหข้ากับสมาชิกในครอบครัว โรงเรียน สังคม ซึ่งความสามารถในการปรับตัวเองนี้เกิดจากความเข้าใจ มีทัศนคติอันนี้ และสามารถกระทำได้จริง อย่างสนุกสนานมีความสุข
  • เป็นอิสระจากความกลัวโดยไม่สมเหตุสมผล
  • ความสามารถในการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า

บุคคลที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ จะไม่สามารถควบคุมความรู้สึก (Sense-Control) มีข้อบกพร่องเรื่องการวางตัวที่เหมาะสม มักขาดความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์ให้เหมาะสมกับอายุจริง (Emotional Infantilism) และเนื่องจากไม่สามารถรักษาอารมณ์ได้คงที่ได้ ทำให้มีผลต่อการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ จนมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบนั่นเอง หรือเรียกได้ว่า กระบวนการจิตใจ มีผลให้เกิดความผิดปรกติของสมอง (Brain Disorders) นอกจากปัญหาการขาดความมั่นคงทางอารมณ์จะส่งผลถึงบุคลิกภาพในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่วัยผู้ใหญ่

เมื่อศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอารมณ์กับศีลธรรม Sumal et al., (1998) ความมั่นคงทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับศีลธรรมในเชิงบวกและเป็นปัจจัยหลักต่อความสามารถทางศีลธรรม ผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์จะมีค่าทางศีลธรรมมากกว่าผู้ที่ไม่มี เขาจึงสรุปได้ว่า ศีลธรรมขึ้นกับความมั่นคงทางอารมณ์

ในด้านการดำรงชีวิต ผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) ควบคู่ไปกับความมั่นใจในตนเอง (Self-Esteem)  จะทำให้เกิดสติ (Mindfulness) และ ความสุข (Happiness) ในทางกลับกันสติ (Mindfulness) และ ความสุข (Happiness) ก็จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน และเกิดการเห็นคุณค่าของตนเอง หรือก็คือช่วยส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) และความมั่นใจในตนเอง (Self-Esteem) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความมั่นคงทางอารมณ์และความมั่นใจในตนเอง มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันกับสติ และความสุข

เด็กที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ จะส่งผลขยายไปสู่ความมุ่งมั่นในการศึกษาและการมีเป้าหมายชีวิตที่ดี การขาดความมั่นคงทางอารมณ์ส่วนใหญ่เริ่มเกิดจากการกลัวความผิดพลาดในเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว  ความมั่นคงทางอารมณ์ส่งผลกับผลการเรียนในเด็กและเยาวชนระดับประถมมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ

ผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์มากจะเป็นคนที่มีความวิตกกังวลน้อย สนใจและติดอยู่ในความรู้สึกผิดพลาดได้น้อย สามารถปรับตัวมุ่งเน้นในการเรียนรู้จากการผิดพลาดได้ดีกว่า และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้ไกลจากความกังวลและความคิดลบนี้เอง ทำให้เขาสามารถควบคุมตนเองให้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญอื่นๆ ได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

อ้างอิง