3 วิธีง่าย ๆ การกระตุ้น positive self talk สำหรับเด็ก

“ฉันจะไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้”

“ฉันหวังว่าฉันจะฉลาดเหมือนเธอ”

หลายๆครั้งการที่เด็กพูดตัดพ้อ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง มองตนเองพูดในแง่ลบ เป็นสิ่งที่ไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะการที่เด็กพูดอย่างนั้นบ่อยๆ เด็กจะเชื่อและตอกย้ำตนเองว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งในความเป็นจริง เด็กทุกคนมีศักยภาพในตนเองหากได้รับการ อบรมเลี้ยงดู และสั่งสอนอย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปัญหาและความยากลำบาก ให้เป็นเรื่องท้าทาย

 

Positive self talk หรือการพูดเชิงบวกกับตนเอง เป็นการช่วยให้เด็กเปลี่ยนเสียงภายในหรือความคิด ทัศนคนคติที่เด็กมีกับตนเอง ให้สู่ภาวะสมดุล ทั้งนี้เพราะหลายครั้งเด็กมักมีมุมมองที่เชิงลบ และกังวล การพูดกับตนเองเชิงบวกจะช่วยให้ความเครียดลดลง มองโลกในหลากหลายมุม และเข้าถึงความเป็นจริงมากขึ้น

 

การสอนเรื่องการพูดในเชิงบวกไม่จำเป็นต้องซับซ้อน กิจกรรมพูดคุยด้วยตนเองเชิงบวกง่าย ๆ มีประโยชน์ในการช่วยให้เด็ก เรียนรู้ที่จะให้กำลังใจและเชื่อมั่นในตนเอง มี 3 วิธีดังนี้

 

  1. ตกแต่งห้องนอนของเด็กให้เกิดแรงบันดาลใจ

การตกแต่งที่เราจัดวางในห้องของเราสามารถสร้างความแตกต่างได้ เราอาจจะติดโปสเตอร์ที่เด็ก ๆ ชอบและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ส่งเสริมการพูดคุยในเชิงบวก หยิบโปสเตอร์พูดคุยสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเด็กในเชิงบวกของแล้วแขวนไว้ในห้องของเด็ก ฯลฯ

 

  1. ทำการ์ดพลังในตนเอง

    ให้เด็กพูดในเชิงบวก พวกเขาจำเป็นต้องรู้ว่าการพูดเชิงบวกมันคืออะไร และจะมันมีประโยชน์อย่างไร

    กิจกรรมง่ายๆนี่คือ เพียงมีสมุดจดบันทึกและอุปกรณ์ระบายสีหรือวาดรูป แนะนำให้เด็กเขียนข้อดีของจนเองลงในกระดาษ 5-10 ข้อ ลงในการ์ด เมื่อเด็กทำเสร็จแล้วเจาะรูที่มุมของการ์ดแล้วแขวน วางการ์ดที่พวกเขาจะเห็นทุกวันเช่น กระจก ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ หรือกระเป๋าเป้สะพายหลัง กิจกรรมนี้ยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับตนเองในเชิงบวกอีกด้วย

 

        3.สอนให้เด็กพลิกความคิด

แน่นอนว่าการพูดคุยเกี่ยวกับตนเองในเชิงบวกถือเป็นทักษะที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ผลจริงนักเรียนต้องเรียนรู้ที่จะใช้มันแทนการพูดถึงตัวเองในแง่ลบ ในการเริ่มต้นเด็ก ๆ ให้เด็ก ๆ บอกการคิด การพูด ในแง่ลบให้กับตนเองก่อน จากนั้นเด็ก ๆ ต้องหาวิธีเพื่อแก้ไขความคิดเชิงลบนั้นให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นบวกมากขึ้น วิธีคือ

  • ใช้กระดานไวท์บอร์ดและเขียนความคิดเชิงลบลงไป จากนั้นให้เด็กลบความคิดเชิงลบแต่ละรายการและแทนที่ด้วยความคิดเชิงบวกที่สอดคล้องกัน คุณสามารถเสนอตัวอย่างการพูดเชิงลบด้วยตนเองหรือให้เด็กคิดขึ้นมาเองก็ได้! เช่น เด็กอาจจะบอกว่า เป็นคนทำอะไรช้าไม่ทันเพื่อน ให้เด็กลบออกแล้วคิดใหม่เกี่ยวกับการทำอะไรช้าก็เพราะเด็กเป็นคนละเอียดล้อมคอบใจเย็นกับสิ่งที่กำลังทำอยู่

การให้เด็กฝึกปฏิบัติกับสถานการณ์เหล่านี้จะช่วยให้พวกเขารู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อการพูดในเชิงลบของตนเองกำลังคืบคลานเข้ามาในสมองของตนเอง

การฝึกฝนด้วย 3 กิจกรรมที่กล่าวมาข้างตน จะทำให้มุมมองที่มีต่อสถานการณ์ของเราเปลี่ยนไป รู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่จะช่วยได้คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเสพสื่อโซเชียลที่มีคุณภาพ การมีเพื่อนและสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะช่วยทำให้เราสามารถคิดบวกได้ดีขึ้น