3 เทคนิคช่วยให้เด็กรู้จักตัวเองและเข้าใจผู้อื่น

รู้จักตนเอง

โดยธรรมชาติของเด็กจะมีการเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง บุคลิกพฤติกรรมหรือนิสัยของบุคคลรอบข้างของเด็กจึงสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ปู่ย่าตายายพี่น้องพี่เลี้ยงครูหรือเพื่อนที่โรงเรียน ล้วนส่งผลในการสร้างบุคลิกของเด็ก เด็กจะจำและเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว  ดังนั้นหากไม่ได้การดูแลใส่ใจสั่งสอนหรืออบรมในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในระยะยาวพ่อแม่ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลที่สำคัญในการสะท้อนบุคลิกของเด็ก รวมถึงความสามารถในการรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น

เพื่อจะให้การถ่ายทอดพฤติกรรมจากผู้ปกครองสู่เด็กเป็นไปด้วยดี  สิ่งแรกที่พ่อแม่และผู้ปกครองควรทำคือการสำรวจตนเอง และแม้ในความเป็นจริงการสำรวจ ยอมรับ และพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อนึกถึงบุตรหลาน และอนาคตของพวกเขา พ่อแม่และผู้ปกครองตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของตนเองเป็นอย่างดี

 

บทความนี้จะเสนอ 3 เทคนิค ที่จะช่วยให้เด็กรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น

1.ทานอาหารเย็นร่วมกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การที่ผู้ปกครองและเด็กได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน มีประโยชน์หลายอย่างมาก การรับประทานอาหารเย็นร่วมกันจะมีโอกาส พูดคุยในบทสนทนาเล็ก ๆ ระหว่างกัน สิ่งที่เด็กจะสนใจในตอนรับประทานอาหารจะไม่ใช่ของเล่น แต่จะโฟกัสแค่การทานอาหารเท่านั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม

 

ในระหว่างการทานข้าวจึงมีเพียงแค่บทสนทนา นอกจากนี้ยังควรที่จะปิดทีวี ปิดเพลง เพื่อสร้างจุดสนในบทสนทนา การทานอาหารเย็นร่วมกัน จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะมากในการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซึ่งจะได้ฟังเรื่องราวชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ที่เด็กได้พบเจอ และถือโอกาสอบรมเด็กไปด้วย

รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่่น

 

2.ตั้งคำถาม พูดคุยถึงเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กอย่างสม่ำเสมอ

หากพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่แน่ใจว่าจะคุยถึงเรื่องอะไร เรามีตัวอย่างในการเริ่มต้นบทสนทนาภายในครอบครัว ให้เด็กได้เล่าช่วงเวลาที่ชอบที่สุดในแต่ละวัน เริ่มต้นด้วยบทสนทนาคำถามเช่น วันนี้หนูได้ทำอะไรบ้างที่หนูชอบ คำถามง่าย ๆ แต่เป็นคำถามเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเรื่องของตนเอง เด็กจะรู้สึกสบายใจและเด็กยังสามารถเล่าประสบการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกกังวล เครียดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนได้โดยที่ไม่ต้องซักถาม

ให้เด็ก ๆ ระบุหนึ่งสิ่งหรือหลายอย่างที่พวกเขารู้สึกขอบคุณในแต่ละวันและแบ่งปันสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกขอบคุณเช่นกัน เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ควรปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเป็นส่วนสำคัญของความคิดที่ดีและก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีโดยรวม

 

กุญแจสำคัญสู่การสร้างให้เด็กมีส่วนร่วมกันอย่างเต็มที่ คือเมื่ออีกฝั่งเป็นผู้พูดอีกฝ่ายก็ควรผู้ฟัง จนกว่าผู้พูดจะพูดเสร็จ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กและผู้ใหญ่ได้พัฒนาทักษะการฟังเรื่องราวของผู้อื่นและพัฒนาความสามารถในมารยาทไม่ขัดจังหวะผู้อื่น

เข้าใจตนเองและผู้อื่น

3.ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อทำให้บทสนทนาลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างคําถามปลายเปิดเช่น เกิดอะไรขึ้นคิดว่าหลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้นอีก หลีกเลี่ยงการถามคำถามที่มีคำตอบแค่ 2 คำคือใช่และไม่

 

ทั้งนี้การสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการไตร่ตรองตนเองและช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดตระหนักรู้ในตนเองและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้พัฒนาทักษะในการไตร่ตรองตนเองอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

 

เข้าใจตนเองมากขึ้น

เมื่อเด็กรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น    เด็กจะได้ตรวจสอบ ความรู้ ความเชื่อ และประสบการณ์ของตนเอง นั่นก็จะช่วยให้ความสามารถในการคิดสะท้อน (Reflective Thinking) ดียิ่งขึ้นไปด้วย