Soft Skills (ทักษะด้านอารมณ์)

เบื้องหลัง ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ หรือการใช้ภาษา แต่ทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการใช้อารมณ์ ทั้งนี้เพราะ

1. ในการทำงานปัจจุบันมีการรวมหลายยุค ซึ่งทำให้การทำงานเกิดปัญหา เพราะคนที่เกิดในแต่ละยุคมีพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความรู้ความสามารถ ค่านิยม และการบริหารการจัดการที่แตกต่างกันออกไป

2. ตลาดงานในอนาคตมีความท้าทายต่อความเป็นมนุษย์ ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร โดยบริษัท Google ได้กล่าวถึงโครงการ Oxygen,พบว่าเบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ อยู่ที่ทักษะด้านอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารและการรับฟังที่ดี ความเอาใจใส่ การให้กำลังใจ การมีวิจารณญาณที่ดี และความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างความคิดที่ซับซ้อน

 

 จากการศึกษา ของ MIT ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) ที่สำคัญ มี 4 อย่าง
1. ทักษะทางแก้ปัญหา (Problem Solving)
2. ความสร้างสรรค์ (Creativity)
3. การร่วมมือ (Collaboration)
4. การวิเคราะห์ (Collaboration)

 คุณสมบัติ ที่ได้มาจาก ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) 7 อย่าง

1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptablity) – การตอบสนองต่อความท้าทายจะช่วยให้คุณเติบโตได้ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
2. ความยืดหยุ่น (Resilience) – การเรียนรู้จากประสบการณ์และความกล้าหาญในการเผชิญความท้าทายที่ตามมา
3. คนมองโลกในแง่ดี (Optimism) – เป็นคนที่ดีที่น่าคบเนื่องจากมีพลังงานที่ดีและความตั้งใจที่ดี
4. ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity) – เป็นคนที่ไว้ใจได้ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
5. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) – ท้าทายต่อสมมติฐานและหาแนวทางใหม่
6. การคิดเชิงรุก (Proactivity) -มีความมุ่งมั่นในการก้าวไปข้างหน้า
7. การเอาใจใส่ (Empathy) – เคารพและให้ความสำคัญกับทุกความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและลูกค้า

คำสอนในพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการสร้างทักษะทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน เพราะคำสอนในพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการเข้าใจตนเอง การจัดการอารมณ์ ความตั้งใจ เป้าหมาย พฤติกรรม โดยเฉพาะคำสอนที่เน้นเรื่องการฝึกสติและสมาธิ โดย Liz Hill-Smith ได้กล่าวสนับสนุนในประเด็นนี้ ในบทความที่ว่า The golden heart of soft skillsว่าสิ่งที่เป็นหลักสำคัญของทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) คือความตระหนักรู้ (Mindfulness) โดยกล่าวว่า ความตระหนักรู้มีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจ (strategic decision-making) นวัตกรรมและความสร้างสรรค์ (innovation and creativity) และ ความสามารถทางอารมณ์ (emotional intelligence) ดังข้อมูลที่แสดงด้านล่าง

ข้อมูลจาก https://www.trainingjournal.com/articles/feature/golden-heart-soft-skills

อย่างไรก็ดีข้อด้วย ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) เป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ บางครั้งจึงถูกเรียก ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) และการสอนยากกว่ามากกว่าทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) ซึ่งผลทำให้ช่องว่างระหว่าง Skills Gap ยังคงมีอยู่ และการพัฒนาบุคคลจึงยังคงเป็นเรื่องท้าทาย

### บทความที่เกี่ยวข้อง

1. Things you need to know about Soft Skills: Mit Sloan expert share their knowledge and experience about the benefit of critical thinking and collaboration จาก MIT Management Slogan School
2. Coaching Millennials has its Hurdles- and it’s time to get over them by MIT Sloan Executive Education
3. Learning so-called soft sills couls tip the scales in your favor for a job โดย Leah Jewell, Managing Director for Workforce Readiness, Pearson จาก Partnership for 21 st century learing
4. Master Your Soft Skills โดย Marsha Willard จาก ecofluence
5. Soft Skills Training Brings Substantial Teturn on Investment both Companies and Workers Benegit จาก MIT Management Sloan School
6. Soft Skiils, Partnerships needed to Bridge Economic Divide โดย Brian Eastwood 0kd MIT Management Sloan School
7. The Golden Heart of Soft Skills  โดย Liz Hill-Smith จาก TJ Training Journal
8. The Importance of Soft Skills and Research  โดย David Forry จาก Bran Hall Group
9. The Most Underrated Skill in Management โดย Nelson P. Repenning, Don Kieffer, and Todd Astor จาก MIT Slogan Management Review
10. The Myth of the Skills Gap จาก Business Impact
11. The Surprising thing Google learned about its employees- and what it means for today’s students, โดย Valerie Strauss จาก The Washington Post

### งานวิจัยทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) ในพระพุทธศาสนา

1. Buddhist Soft Skills as a tool for Peace and Harmony in the Multi-Cultural Society by Chandrasekara,S.
2. Soft Skills in the Buddhist Literature by Dr. G. Kiran Kumar Reddy

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *