สอนเด็กเป็นนักปราชญ์ : 7 ขั้นตอนเพื่อการจัดกิจกรรม

นักปราชญ์หรือเรียกอีกอย่างว่า นักปรัชญา(Philosopher) ที่สำคัญจะ มีบทบาทในการต่อยอดความคิดหรืออธิบายปัญหาเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น โลกและจักรวาล ความดีความชั่ว ความสวย หรือแม้กระทั่ง การเข้าใจการทำงานภายในตัวของมนุษย์เอง การดำเนินชีวิตมนุษย์ทุกคนต้องพยายามทำความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ สื่อสาร อภิปรายร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหา ดังนั้น มนุษย์ทุกคนล้วนต่างทำมีส่วนของนักปราชญ์ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น ผู้ที่มีทักษะของนักปราชญ์ในตัวเยอะ ผู้นั้นก็จะเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ที่พูดจาฉะฉาน ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ก็ลึกซึ้งที่จะทำให้มองสรรพสิ่งได้อย่างเด็ดขาด

การที่เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย ผ่านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้หมายถึงว่าเด็กคนนั้นจะเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้รอบรู้ หรือเป็นนักปราชญ์ ทักษะของนักปราชญ์ต้องอาศัยการฝึกฝนและการสนับสนุน การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นนักปราชญ์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเช่นกัน

กิจกรรมกระตุ้นความคิด การเริ่มต้นกิจกรรมที่ดีจะทำให้กิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์อย่างง่ายดาย การส่งเสริมการใฝ่รู้สำหรับเด็กสามารถทำได้เป็น 7 ขั้นตอนดังนี้

1.การมีส่วนร่วมและการเปิดใจในช่วงต้น ควรเริ่มจากการกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมและเปิดใจ ร่วมถึงเห็นภาพสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยการตั้งคำถาม ยกตัวอย่างเช่น คิดว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจะมีลักษณะอย่างไร เด็กๆมีความคาดหวังอย่างไร หลังจากกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมและเปิดใจแล้ว ผู้นำกิจกรรมจะมีข้อมูลเพื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม

2.ปูพื้นฐานแนวคิด ผู้นำกิจกรรมกล่าวถึงภาพรวมกิจกรรมหรือแนวคิดเช่นเดียวกัน โดยอาจจะให้เหตุผล ชวนจินตนาการโดยอาศัยเรื่องเล่า หนัง เพลง และตั้งคำถาม เป็นต้น หรือสร้างประสบการณ์เฉพาะร่วมกัน โดยเล่าเรื่อง ดูหนัง เพื่อเกริ่นนำและเด็กปรับความคิดเพื่อรับข้อมูลได้ทัน

3.ตั้งประเด็นสำคัญที่จะสนทนา หลังจากแบ่งบันเรื่องราวและปูพื้นฐานแนวคิดแล้ว ฐานเด็กถึงประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องนั้นๆ เชิญชวนเด็กให้พูด อาจให้เริ่มจากให้เด็กจับเป็นคู่คุยระหว่างกันและจึงนำเสนอต่อผู้นำกิจกรรม เชิญชวนให้เด็กเขียนในประเด็นสำคัญ คำสำคัญ รวมถึงภาพไดอะแกรม ตามความเหมาะสม กระตุ้นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนคุณเห็นว่าเด็กสามารถเปิดประเด็นปัญหาได้อย่างเพียงพอ ระมัดระวังประเด็นที่ปะปน หรือก่ำกวมซึ่งจะนำมาซึ่งความสับสน เปิดให้เด็กมีโอกาสสนทนาซักเล็กน้อย ก่อนเข้าสู่ช่วงถัดไป

4. ตั้งประเด็นคำถามการตั้งประเด็นคำถามที่ดีจะทำให้เด็กพิจารณาได้อย่างลึกซึ้งขึ้น โดยประเด็นคำถามควรสอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่กล่าวข้างต้นและอายุของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น
จากที่สนทนาเมื่อสักครู่……..
มีข้อที่น่าสนใจในประเด็น (ความรับผิดชอบ) และ (เสรีภาพ) จะเป็นอย่างไรบ้างถ้าเราจะนำ 2 หัวข้อนี้มาตั้งเป็นคำถาม?
พบประเด็นปัญหาคือ (ข้อโต้แย้งเรื่องความดีในพระพุทธศาสนากับในโลกตะวันตก) ว่ามีความแตกต่างกัน
เรามาลองร่างคำถามด้วยกัน ใครมีความเห็นอย่างไรบ้าง?
มีใครมีคำถามต่อสิ่งที่นำเสนอบ้างหรือไม่
เราจะลองใช้เวลาร่วมกันซักครู่ เพื่อให้ทุกคนมีเวลาทบทวน
คุณอาจช่วยจนสามารถตั้งคำถามที่เหมาะสม 2-3 คำถาม และให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการเลือก และเสนอความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาธรรมชาติของนักปราชญ์ในตัว

 

5. สร้างความคิดแรก เมื่อได้ประเด็นคำถามที่เหมาะสม ให้เด็กจับเป็นคู่และและเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามที่ตั้งขึ้น แล้วจึงหาอาสาสมัครเพื่อนำมาเสนอหน้าห้อง และให้อาสาสมัครเลือกผู้ที่มาพูดคนต่อไป เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด อาจใช้คำเพื่อให้กำลังใจและการมีส่วนร่วมเช่น “กล่าวต่อไป” หรือ “ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น “ หรือ “มีตัวอย่างประกอบหรือไม่” อย่าลืมจดประเด็นที่สำคัญเพื่อ ในการนำเสนออาจมีการหลุดนอกประเด็น ผู้นำกิจกรรมอาจจำเป็นต้องดึงบทสนทนาเข้ามาสู่ประเด็นเป็นระยะ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
สิ้งที่เด็กชายเอ พูดคือเกี่ยวกับ (ความไม่ยุติธรรม) ในขณะที่ เด็กชาย บี กล่าวว่าแท้จริงแล้วคือ (ธรรมชาติของโลก) มีใครมีความเห็นอะไรอีกมั้ยค่ะ
พยายามประคองให้ความคิดอยู่ภายใต้ประเด็นคำถามที่สร้างไว้ และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น

 

6. พยายามสอดแทรกบทสนทนาทางปรัชญา ในระหว่างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้นำกิจกรรมควรพยายามสอดแทรกบทสนทนาทางปรัชญาของนักปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ความคิดเปิดกว้างอย่างมีหลักการมากยิ่งขึ้น

 

7. สร้างความคิดสุดท้าย ความคิดสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในกิจกรรม ไม่ใช่ความคิดสุดท้ายที่เด็กจะมีต่อคำถามนั้นๆ ถ้าเด็กเห็นว่าประเด็นนั้นจำเป็นจริงๆ เด็กอาจจะมีการถกเถียงและอภิปรายนอกชั้นเรียน ดังนั้นในการสรุปกิจกรรม จึงควรให้เด็กสรุปโดยการตั้งคำถามเชิงลึกและเจาะจงยิ่งขึ้นในสิ่งที่สงสัย รวมถึงเขียนประโยคหรือวาดรูปความคิดเห็นของตนที่เกิดขึ้นลงในกระดาษ เพื่อคุณจะได้ตรวจและให้คำแนะนำรวมถึงข้อคิดเห็น และอย่าลืมสรุปรวมถึงให้วัตถุดิบเพื่อการคิดวิเคราะห์ที่ดีทิ้งท้าย

 

คุณค่าที่ได้รับจากกิจกรรม P4C คือ การคิดวิเคราะห์ (Critical) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ความเอาใจใส่ (Caring) และความร่วมมือระหว่างกัน (Coolaborative)

 

โดยเด็กๆผู้ร่วมทำกิจกรรมจะรู้สึก พวกเราได้ช่วยเหลือกันพัฒนาความคิดซึ่งกันและกัน เราได้ให้เหตุผลและยกตัวอย่าง สิ่งที่ฉันสงสัยได้ถูกตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบ พวกเราได้ถามเพื่อนๆในสิ่งที่เขาคิดและได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าทำไมเขาถึงคิดเช่นนั้น ฉันสังเกตเห็นถึง “ความคิดพื้นฐาน (Big Ideas) ในการอภิปราย พวกเราสามารถเห็นต่างกันได้โดยไม่กระทบกระทั่ง ฉันรู้สึกปลอดภัยในสังคม ฉันคิดว่าคนสังคมใส่ใจในตัวฉัน ฉันพบว่าฉันมีสิทธิพูดถ้าฉันปรารถนา ฉันรู้สึกเข้าใจคนอื่นมากขึ้นผ่านการฟังอย่างตั้งใจในสิ่งที่เขาพูด

 

Tip!

วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมสร้างวัฒนธรรมของการใฝ่รู้ในสังคมและ ครอบครัว ด้วยการแสดงออกถึงความสนใจในการคิดของเด็ก ด้วยท่าทีต่างๆ เช่น ความตั้งใจฟัง คำถาม ความคิดเห็น ความเข้าใจ รวมถึงสอดแทรกมุมมองเรื่องคุณค่าและความรู้สึกไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้พยายามตอบสนองด้วยท่าทีเสริมสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเด็ก แล้วจึงผลักดันให้เด็กคิดเชื่อมโยงในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และยกตัวอย่าง

**กิจกรรมลักษณะนี้เรียกว่า สังคมของการสืบสวน ( Community of Enquiry) **มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคารพในกันและกัน ผ่านการรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยการสื่อสารด้วยการใช้เหตุผลเพื่อเข้าใจความเข้าใจ ความหมาย ความเป็นจริง คุณค่า ในทัศนะของคู่สนทนา

 

Extra!

กระตุ้นความสนใจในประเด็นให้ชัดยิ่งขึ้น
การสืบค้นความคิด จะสามารถทำได้ดีขึ้น ถ้ามีกิจกรรมเขามามีส่วนร่วม การเล่นบทบาทหน้าที่ (role-play) หรือ การสร้างสิ่งเร้า (เช่น ตัวอย่างสถานการณ์ที่ครูยืนยันที่จะเชื่อในสิ่งที่ตรงข้ามกับเด็ก และให้เด็กหาเหตุผลเพื่อโน้มน้าว)

ต่อยอดความคิดในเด็กแต่ละคน
การจดบันทึกช่วยให้ความเข้าใจกระจ่างขึ้น สนับสนุนให้เด็กจดบันทึก ในรูปแบบต่อไปนี้
1.อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด (หรือสนใจ หรือประหลาดใจ) ในเรื่องที่อ่านหรือ บทสนทนาเกี่ยวกับ………………. เขียนมา 6 หัวข้อ
2.อะไรคือเหตุผลที่แตกต่างระหว่างมุมมองที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในประเด็นที่ว่า…………? จงอธิบาย
3.จงยกตัวอย่างหรือสถานการณ์เกี่ยวกับ………………… มาซัก 5 ตัวอย่าง
4.จงเขียนเกณฑ์ในการตัดสินเกี่ยวกับ………………. มาซัก 5 ตัวอย่าง
5.คุณคิดว่า……………………..กับ …………………… มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

อ้างอิง

1. Thomas E. Wartenberg, big ideas for litter kids: teching philosophy through children’s literature , Rowman & Littlefield Publishers, Inc , Maryland 2009
2. P4C what why how
3. การสอนปรัชญาสำหรับเด็ก 
4. How can I improve my practice so as to help my pupils to philosphise?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *