การสอนให้เด็กคิดวิพากษ์ควรจะเป็นอย่างไร?

ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เหตุผล ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเหล่านี้ เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่จำเป็นต้องมี ใน 2025 (World Economic Forum) จำเป็นต้องเร่งพัฒนาในเด็กและเยาวชน คำถามต่อมาคือ การพัฒนาทักษะเหล่านี้ ควรจเป็นไปในทิศทางใด

 

ศาสตราจารย์ แมทธิว ลิปแมน (Mattew Lipman)  ผู้จัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาการสอนปรัชญาในเด็ก (Philosophy for Children, P4C) มีชื่อว่า Institute for the Advancement of Philosophy for Children (IAPC) ซึ่งหลักสูตรของทางสถานบันได้รับการยอมรับและแพร่หลายไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ได้กล่าวถึงปัญหา การสอนการคิดวิพากษ์ในสถาบันศึกษาว่า เราควรเริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่าผลลัพธ์จากการสอนการคิดวิพากษ์ที่เราต้องการคืออะไร

 

ต้องเริ่มจากผลลัพธ์ที่ต้องการ

แม้ว่าจะมีคำนิยามอธิบายลักษณะ การคิดเชิงวิพากษ์ แต่จากคำนิยามนั้นก็ยังแคบเกินไปและไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาใช้จัดเป็นหลักสูตรสำหรับสอนเด็ก โดยนิยาม การคิดวิพากษ์คือกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจโดยเป็นเหตุเป็นผล ศาสตราจารย์ แมทธิว ลิปแมน (Mattew Lipman)  ได้ชี้ประเด็นปัญหาว่า การนิยามเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจว่าการสอนการคิดวิพากษ์สำหรับเด็กควรจะเป็นลักษณะไหน การมีความสามารถในการคิดวิพากษ์ต้องอาศัยทักษะการคิดและความจำรวมหลายประการ นอกจากนี้ ปัญหาและการตัดสินใจโดยเป็นเหตุเป็นผลก็มีหลายรูปแบบตามแต่สถานการณ์ โดย ศาสตราจารย์ แมทธิว ลิปแมน (Mattew Lipman)  ได้ระบุชัดเจนว่า การสอนการคิดวิพากษ์ในเด็กแท้จริงแล้วเพื่อให้เด็กมีการตัดสินใจที่ดี 

 เป้าหมายของการจัดการศึกษา

เมื่อได้เป้าหมายของการสอนการคิดวิพากษ์ ต่อมาคือการระบุลักษณะของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาผลลัพธ์ที่ต้องการให้เด็กมีคือ 1. มีความรู้ และ 2. มีปัญญา ซึ่งการมีปัญญา ก็คือ รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ ทำอย่างไร ซึ่งก็คือมีการตัดสินใจที่ดี อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจที่ดี ไม่ใช่การเอาตนเองเป็นศูนย์กลางได้เพียงอย่างเดียว เพราะการเอาตนเองเป็นศูนย์กลางแต่ไม่อิง สิ่งแวดล้อม บุคคลรอบข้าง ก็คือการตัดสินใจจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้ต้องปฏิบัติได้ นั่นคือเข้าใจบริบทในขณะนั้น ดังนั้น การคิดวิพากษ์ก็คือ การตัดสินใจที่ดีตามบริบทและการประเมินบริบทที่ต้องตัดสินใจในครั้งนั้นๆให้เป็น

จากเป้าหมายของการคิดวิพากษ์และเป้าหมายของการศึกษาทำให้ทราบถึงลักษณะของการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะคิดวิพากษ์ ซึ่งมี 3 ลักษณะคือ 1. ต้องเข้าใจลักษณะของเกณฑ์การตัดสินใจที่ดี 2. ต้องเห็นความสำคัญของการแก้ไขและทบทวนตนเอง 3. ต้องตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งต่าง ๆรอบตัว

อ้างอิง