ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของจีน เปียเจ

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของจีน เปียเจ (Piaget’s Cognitive Theory)

แหล่งที่มาของพัฒนาการทางสติปัญญา

พัฒนาการทางการรู้คิดเกิดจากการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่แรกเกิดจนสิ้นสุดชีวิต โดยมี 2 กระบวนการ

 

ความคิดและการใช้เหตุผลของเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน

 

พัฒนาการทางการรู้คิดของทุกคนมีขั้นตอนที่เป็นสากล

  • ความสามารถในการจัดจำแนก (Classify) นั่นคือ เด็กจะสามารถอธิบายได้ว่า นี่คือ ดอกบัว นั่นคือ ดอกมะลิ และทั้งสองอย่างก็เป็นดอกไม้เหมือนกัน
  • ความสามารถในการประมาณ (Conserve) เช่น การที่เด็กสามารถระบุได้ทันทีว่า จากลูกหินที่วางเรียงไว้สองแถว (ตามที่กล่าวมา) จะมีจำนวนเท่าๆ กันไม่ว่าเราจะวางเรียงไว้ให้แตกต่างกันทางความยาวสักเท่าใด
  •  ความสามารถในการจัดลำดับของได้ (Order) เช่น เด็กสามารถจัดรวบรวมแท่งไม้ สี่เหลี่ยมได้ตามขนาดที่แตกต่างกัน และสามารถจัดเรียงแท่งไม้ได้ตามขนาดที่ลดหลั่นลงมา
  • ความสามารถในการพฤติกรรมในอดีตและอนาคตด้วยการใช้สัญลักษณ์สื่อความหมาย (Symbolically Represent) เช่น สามารถวาดแผนที่แสดงเส้นทางจากบ้านถึงโรงเรียนได้
  •  ความสามารถเชิงสังคมสื่อสาร (Communicate Socially) นั่นคือ การที่เด็กจะมีลักษณะยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง รู้จักการเปลี่ยนแปลงคำอธิบายการเล่นเมื่อเพื่อนในกลุ่มยังไม่สามารถเข้าใจกติกา คุณสมบัติในการมีทักษะด้านการใช้คำพูดเพื่ออธิบายจะฉายให้เห็นโครงสร้างของความคิด (Cognitive Structure) หรือสภาพแห่งจิตใจของเด็กด้วย

พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กวัย 7 -12 ปี (Concrete Operations Period) มีรายละเอียดดังนี้

พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กวัย 12 ปี ขึ้นไป (Formal Operations Period) จัดเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้าย โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กจะอยู่ในลักษณะที่มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบระเบียบและมีการใช้เหตุผลประกอบ

 

อ้างถึง

  • รองศาสตราจารย์จตุรพร ลิ้มมั่นจริง. จิตวิทยาเด็ก หน้า 113-121
  • รศ.ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล. จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น หน้า 20-21