วิทยาศาสตร์กับความเป็นจริง -ฮิลลารี่ พัทนัม

เนื่องจากอิทธิพลของวิทยาศาสตร์ในการสำรวจสิ่งต่าง ๆรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น แสง เสียง จักรวาล ได้อย่างเป็นระบบ ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในการทำงานของวิทยาศาสตร์ในฐานะเครื่องมือพิสูจน์ “ความเป็นจริง (Reality)”  สิ่งที่ทำสามารถทดสอบได้เชิงประจักษ์ไม่ว่าจะผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เอง หรือเครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อวัดค่า เสียง กลิ่น การสัมผัส แสดงว่าสิ่งนั้นคือความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม คนจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า มีบางสิ่งบางอย่างบนโลก ที่มีอยู่จริงแต่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ เช่น แนวคิดในทางศาสนา ความเชื่อ หรือสิ่งเล้นรับ มหัศจรรย์ เป็นต้น ซึ่งทำให้บทบาทของวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ความเป็นจริง ยังเป็นข้อกังขา

 

การยอมรับว่าผัสสะหรือประสบการณ์เป็นสิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็น “ความเป็นจริง” หรือเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ “ความเป็นจริง” เรียกว่า สัจนิยม (Realism) การเข้ามาของแนวคิดวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์เรียกว่า สัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Realism) ลักษณะเด่นของ สัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ คือการพิจารณาลึกซึ้งไปถึงเรื่องงานวรรณกรรม ซึ่งหนึ่งในนักปรัชญาที่สนับสนุนความคิดนี้ก็คือ ฮิลลารี่ พัทนัม (Hillary Putnam)  เพื่ออธิบายลักษณะของ สัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้

 

SR1 (Scientific Realism 1) –  วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เรื่องราวที่แท้จริงของโลก

SR2 (Scientific Realism 2) – การยอมรับทฤษฎีคือการเชื่อว่าเป็นความจริง (โดยประมาณ)

การอธิบายเช่นนี้เปิดช่องว่างให้กับแนวคิดสัจจนิยมในการเข้าถึง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ทั้งนี้เพราะ ฮิลลารี่ พัทนัม (Hilary Putnam) การอธิบาย สัจจนิยมแบบดั้งเดิม มีลักษณะที่ดันทุรังและมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย มีแต่การโต้แย้งกันไปมา เขาจึงมุ่งพัฒนาแนวคิด Computational Functionalism และความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ (The Mind-Body Problem)

 

อย่างไรก็ตาม ในการเข้าใจว่าสิ่งใดคืออะไร หรือความหมายที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ อะไรเป็นตัวกำหนด ยังคงมีปัญหา แนวคิดสัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ได้เสนอต่อไปถึงสิ่งที่กำหนดความหมายคืออะไร ระหว่างสภาวะจิตหรือโลกภายนอก

เพื่ออธิบายการรับรู้ (Epistemology)  และทฤษฎีความหมายแบบปฏิฐานนิยม (Positivistic Theory of Meaning) ฮิลลารี่ พัทนัม (Hillary Putnam) จึงได้เสนอทฤษฎีที่มีชื่อว่า ทฤษฎีโลกแฝด (the Twin world ) เพื่ออธิบายลักษณะของการมีอยู่ว่าเกิดภายใต้โครงสร้างบางอย่าง และถ้าโครงสร้างนั้นได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ได้รับการกำหนดรวมกันในสังคม ก็จะมีความหมาย

 

อ้างถึง