ในโลกแห่งอนาคต มนุษย์จำเป็นต้องพัฒนา “การคิด” ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้รู้เท่าทันข่าวสารและเทคโนโลยี และหนึ่งในการคิดที่ถูกกล่าวถึงว่ามีความสำคัญคือ การคิดแบบวิพากษ์(Critical Thinking) แนวคิดเรื่องการคิดแบบวิพากษ์มีหลายนิยาม ตามนักทฤษฏีต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
Watson and Glaser ได้กล่าวถึง การคิดแบบวิพากษ์ว่าควรมีองค์ประกอบของ การอนุมาน การนิรนัย การตีความ การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น และการประเมินข้อโต้แย้ง
Ennis ว่าการคิดแบบวิพากษ์ คือ มีความสามารถในการอุปนัย นิรนัย น่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกตุ และความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น
Dresssel and Mayhew เสนอว่ามี การนิยามปัญหา การเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การตระหนักในข้อตกลงเบื้องต้น การกำหนดและเลือกสมมติฐาน และการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล
ในขณะที่ Facione and Facione กล่าวต่างออกไปเล็กน้อยว่า การคิดแบบวิพากษ์คือ การวิเคราะห์ การเปิดรับ การแสวงหาความจริง การเคารพตนเอง และการจัดการเชิงระบบ ความกระตือรือร้น
ซึ่งในเมืองไทยทฤษฏีที่มักอ้างถึงคือของ Watson and Glaser ซึ่งเขาได้พัฒนาแบบวัดความคิดแบบวิพากษ์เป็นของตนเองในปี 1980 เป็นแบบเลือกตอบ
อย่างไรก็ดีมีแบบวัดอีกหลายอย่างที่ถูกพัฒนาในภายหลังและได้รับความนิยม และเหมาะสมกับช่วงวัยที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
สำหรับระดับมัธยมศึกษาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ Cornell Critical Thinking Test Level Z และ Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal (WGCTA)
สำหรับวัยประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ Cornell Critical Thinking Test Level X
จะเห็นได้ว่า ในประเทศไทย มุมมองเกี่ยวกับ การคิดแบบวิพากษ์และการทดสอบมีความหลากหลาย และยังไม่เป็นสากล ซึ่งความไม่ชัดเจนนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาเยาวชนยังไม่มีพลัง .