สไลด์ดีอะไรก็ง่าย : ตอน2.2 เริ่มต้นการทำสไลด์-การมองเห็น

             ในการฟังบรรยาย ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายจะใช้การกวาดสายตาเร็วๆ อย่างรวดเร็วระหว่างผู้บรรยายกับข้อมูลบนสไลด์ (การชำเลือง)

              โดยผู้บรรยายจะเป็นหลักในการนำเสนอ และข้อมูลบนสไลด์ควรเป็นภาพที่ช่วยผู้ชมรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

 

 

                สมองของมนุษย์สามารถรับข้อมูลที่ทั้งเป็นภาพและข้อมูล แต่การรับรู้ในระหว่างการรับฟัง มนุษย์จะรับเป็นภาพได้ดีกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่า ยิ่งในการบรรายหรือนำเสนอที่ยาวเท่าไหร่ ความสามารถในการจำข้อมูลจะน้อยลง สมองต้องใช้ความพยายามในการแปลงข้อมูลเป็นภาพ การที่จะช่วยคือทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบของรูปภาพ ซึ่งจะช่วยให้สมองจำข้อมูลอยู่ได้ยาวขึ้น แม้ในการชำเลือง 1 ครั้งก็ตาม

       

             

                       สไลด์ที่ซับซ้อน จะทำให้ผู้ฟังต้องทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน ทั้งจดจำข้อมูลจากเสียง ทั้งใช้ตาอ่านข้อมูล ซึ่ง มนุษย์แท้จริงแล้วไม่ถนัดในการทำหลายๆอย่างพร้อมกัน  ดังนั้น เมื่อต้องทำหลายๆ อย่างพร้อมๆกัน จะทำให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจไปในที่สุด

 

                  ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ความเรียบง่ายและความชัดเจน