เพิ่มทักษะการคิดด้วยโมเดลการสะท้อนคิด (Reflective thinking model)

ความคิดจะมีประสิทธิภาพได้นั้น เริ่มจากการเข้าใจตนเอง เราต้องเข้าใจตนเองในแต่ละสถานการณ์อย่างกระจ่าง เสมือนกับเรา กำลังพูดคุย มองตัวเองในทุกๆมุม วิเคราะห์ วิพากษ์ตนเอง เพื่อการเรียนรู้ชีวิตของตนเอง และดำเนินชีวิตตนเองไปในทางที่ดียิ่งๆขึ้นไป การตรวจสอบตนเองในรูปแบบนี้ เรียกว่า การสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด หรือ การสะท้อนความคิดตนเอง  (Reflective thinking ) คือกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ของตนเองและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น การสะท้อนความคิดตนเองจะให้ความสำคัญที่กระบวนตระหนักรู้ใน 3 หัวข้อด้วยกัน คือความรู้ ประสบการณ์ และความเชื่อของตัวเราเอง

 

Reflective Thinking คือ

การสะท้อนความคิดตนเองถูกนำเสนอในหลายโมเดล แต่ไม่ว่าจะเป็นโมเดลไหน ข้อดีคือ โมเดลต่างๆ เหล่านั้น ช่วยให้เราเข้าใจความคิดของเราเอง วิธีการเรียนรู้และการรับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ระหว่างที่เราทำการสะท้อนความคิดตัวเองนั้น เราจะเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น เชื่อมโยงความรู้เก่า และความรู้ใหม่ ทั้งในแง่ของรูปธรรมและนามธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อรู้เยอะขึ้นจึงสามารถที่จะนำสิ่งเหล่านั้นไปทำการประยุกต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการดำรงชีวิต

อย่างไรก็ดีรูปแบบการสะท้อนความคิดตนเอง มักถูกมองว่า เริ่มต้นด้วยการคิดลบ ซึ่งความจริงที่การพัฒนาต้องเริ่มจากการประเมินสิ่งที่เป็นปัญหา ตรวจสอบประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหากลยุทธ์หรือวิธีการที่เหมาะสม จึงทำให้ประเด็นเรื่องการคิดลบตกไปเนื่องจาก จากเป้าหมายและกระบวนการของรูปแบบการสะท้อนความคิดตนเองมีลักษณะของการยอมรับความจริงมากกว่า และการยอมรับความจริงที่แม้ไม่สมบูรณ์นักในทุกสถานการณ์ ก็ไม่ใช่เรียกว่าการคิดลบ

“การพัฒนาต้องเริ่มจากการยอมรับและเข้าใจว่ามี บางสิ่งที่เราอยากทำให้ดีขึ้น การเข้าใจเช่นนี้คือการเข้าใจความเป็นจริงและกล้าหาญเผชิญกับมัน ไม่ใช่การคิดลบ”

การสะท้อนคิด

 

โมเดลการสะท้อนความคิดตนเองได้ถูกคิดค้นออกมาในหลายรูปแบบ ตามการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ เช่น การจัดการเรียนการสอน (Boud’s triangular representation) },  Johns’ Model of Structured Reflection และ The Atkins and Murphy model  การสัมภาษณ์งาน (The Carl Framework of Reflection ) และ การพัฒนาศักยภาพ ( Gibbs reflective cycle ) เป็นต้น

 

แบบจำลองการสะท้อนทำงานอย่างไร?

กระบวนการคิดเชิงไตร่ตรองเกี่ยวข้องกับการคิดอย่างมีสติอย่างใกล้ชิด การมีสติตระหนักรู้ทำให้สามารถวิเคราะห์สิ่งที่กำลังทำอยู่, สิ่งที่เคยทำมาก่อนหน้านี้, สิ่งที่ได้รับประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้

 

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าโมเดลการสะท้อนความคิดตนเองมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการต่างกัน อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นลักษณะหลักๆที่มีอยู่ในทุกโมเดลคือ

  1. การสะท้อนความคิดตนเองนำไปสู่การเรียนรู้ (Reflection leads to learning) กล่าวอีกนัยหนึ่งการคิดไตร่ตรองจะเปลี่ยนความคิดของแต่ละคนและมุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับการเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ
  2. การสะท้อนความคิดตนเองเป็นกระบวนการแบบแอคทีฟและต่อเนื่อง (Reflection is active and Dynamic) ทั้งนี้เพราะกระบสนการเชื่อมโยงทั้งจากประสบการณ์ในอดีต การกระทำในปัจจุบัน และการวางแผนการสำหรับอนาคต

 

  1. การสะท้อนความคิดตนเองมีลักษณะเป็นวัฏจักร (Reflection is cyclic in nature) ผลลัพธ์ของการสะท้อนความคิดของตนเองในแต่ละรอบจะทำให้ได้ความคิดใหม่ที่ดีๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในขั้นถัดไป

 

  1. การสะท้อนความคิดตนเองอาศัยการมองในหลายมิติ (Reflection involves looking at issues in a variety of ways) การวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นต้องอาศัยหลายๆ มุมมอง ยิ่งสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้สามารถตรวจสอบค่านิยม มุมมองและสมมติฐานได้อย่างใกล้ชิด

การสะท้อนคิด หมายถึง

ประโยชน์ของการสะท้อนความคิดตนเอง

แบบจำลองของการสะท้อนความคิดตนเอง ช่วยให้แต่ละบุคคลเข้าถึงคุณค่าของแต่ละประสบการณ์ของพวกเขาได้อย่างลึกซึ้ง ช่วยพัฒนาการแสดงออกและพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆดังนี้

 

นอกจากนี้ประโยชน์เฉพาะของการคิดเชิงไตร่ตรองมีดังนี้:

  • ปรับปรุงอภิปัญญาของแต่ละบุคคล – หรือความสามารถในการไตร่ตรองกระบวนการรับรู้ของตนเอง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและการจัดการประสิทธิภาพ
  • เพิ่มแรงจูงใจในตนเอง
  • ช่วยเพิ่มการมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการเรียนรู้
  • ช่วยให้แต่ละคนระบุอุปสรรคในกระบวนการเรียนรู้และกำหนดเป้าหมายที่เป็นจริง
  • ช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถพิจารณาวิธีต่างๆในการบรรลุเป้าหมาย
  • ช่วยระบุช่องว่างในทักษะความรู้และสิ่งที่ต้องพัฒนา
  • ช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถปรับความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คาดคิดและซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม

 

อ้างอิง

บทความ Model of  Reflection เขียนโดย Kate Brush