การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based learning) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่แพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ (Active Learning) ด้วยการ ตั้งคำถาม กำหนดปัญหา และกำหนดสถานการณ์กระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นคนคิด ซึ่งแตกต่างกับการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่เน้นให้ครูเป็นคนให้ข้อมูล
ในช่วงก่อนปี 1960 มีการนำเสนอแนวคิดที่เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเองได้ หรือเรียกว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) โดยมีนักปรัชญา นักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายๆท่านที่นำเสนอในเรื่องนี้ได้แก่ จีน เปียเจต์ (Jean Piaget) จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) วีกอทสกี (Lev Vygotsky) เปาโล เฟรรี (Paulo Freire) เป็นต้น
ลักษณะการจัดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
การจัดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้มีลักษณะพิเศษคือสนับสนุนให้นักเรียน
1.ได้ตั้งคำถามด้วยตนเอง
2.ค้นหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำตอบของคำถาม – ไม่เพียงแค่ให้คำตอบ แต่ให้นักเรียนได้หาหลักฐาน เหตุผล เพื่อยืนยันว่าคำตอบนั้นทำไมถึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง หรือทำไมถึงเป็นคำตอบที่ผิด
3.อธิบายหลักฐานที่รวบรวมได้ – หลักฐานบางครั้งต้องการการตีความ รวบรวมในปริมาณมากพอ รวมรวมในรูปแบบที่ถูกต้อง ฯลฯ นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการเข้าใจซึ่งเหล่านี้
4.เชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
5.สร้างข้อโต้แย้งและข้อสนับสนุนสำหรับคำอธิบาย
ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จึงมีทั้ง การตั้งคำถาม การสังเกตเพื่อหาข้อมูล การค้นคิดพัฒนากระบวนการเพื่อรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความ การสรุปความ และการคาดการณ์สำหรับอนาคต
การสอนปรัชญาสำหรับเด็ก โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เนื่องจากการพบปัญหาการไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุผลในเด็กและเยาวชน ศาสตาร์จารย์แมทธิว ลิปแมน (Matthew Lipman) จึงคิดค้นแนวทางการสอนปรัชญาสำหรับเด็กโดยใช้ทฤษฎีชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) โดยให้ชุมชนม โรงเรียน ครู เด็ก รู้สึกมีส่วนร่วมและกล้าตั้งคำถาม
คำถามที่ดีปลดล็อคสมอง
คำถามเป็นสิ่งที่กระตุ้นความคิด คำถามที่ดีจะช่วยให้ได้รับคำตอบที่เปิดกว้าง นั่นก็คือ ได้ข้อมูล ได้ความรู้ ได้ความเข้าใจในประเด็นเหล่านั้นมากและลึกยิ่งขึ้น คำถามที่ดีนอกจากเป็นคำถามปลายเปิดแล้ว ยังเป็นคำถามที่ทำให้เราได้รับข้อมูล ได้คิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างมาก ซึ่งในทางปรัชญาเรียกว่า Big Questions
คำถามสำคัญในปรัชญา
กรอบความสนใจของปรัชญาประเด็นที่ถกเถียงกันมานาน ซึ่งเป็นประเด็นที่เปิดกว้างและชวนคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ประเด็นหลักได้แก่
1.อะไรคือความจริง /ความเป็นจริง หรือเรียกว่า อภิปรัชญา (Metaphysics) ศึกษาธรรมชาติของความจริง ลักษณะ เกณฑ์การตรวจสอบ
2.อะไรคือความรู้ หรือเรียกว่า ญานวิทยา (Epistemology) ศึกษาธรรมชาติของรู้ การแสวงหาความรู้ การตรวจสอบความรู้
3.อะไรคือคุณค่า หรือ คุณวิทยา (Axiology) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับคุณค่า ความจริง ความดี ความงาม
อ้างถึง
- http://www.p4c.org.cn/en/About.aspx?ID=0
- https://www.psychologytoday.com/us/blog/theory-knowledge/201603/the-3-big-questions-philosophy
- https://www.rockwavegroup.com/blog-test-tbd
- https://en.wikipedia.org/wiki/Inquiry-based_learning