ใครเล่าเรื่องเก่ง คนนั้นชนะ

รายละเอียดหนังสือ ใครเล่าเรื่องเก่งคนนั้นชนะ (Whoever Tells the Best Story Wins) เขียนโดย แอนเนต ซิมมอนส์ แปลโดย สุรดันธ์ วิโรจน์ดุล สำนักพิมพ์อมรินทร์ฮาวทู พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2561 กรุงเทพมหานคร

เกริ่นนำ  ข้อมูลที่หลากหลายและเทคโนโลยี ทำให้ลักษณะของเรื่องเล่าเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ในอดีตเมื่อเรื่องเล่าเป็นมุ่งเน้นเล่าสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ยกตัวเช่นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวของสงคราม เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เข้ามาลักษณะของเรื่องเล่าได้เปลี่ยนจากการกล่าวถึงความจริงในอดีต เป็นการให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณมากขึ้น ตัวเลขทางสถิติต่างๆ

          ความสำคัญของเรื่องเล่าคือการถ่ายทอดประสบการณ์ขอบบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง ประสบการณ์คือสิ่งที่รวมถึงความจริงที่เจอ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น และความรู้ความเข้าใจกับเหตุการณ์นั้นๆ ดังนั้นเรื่องเล่าจึงไม่ควรเน้นเฉพาะความเป็นจริง หรืออารมณ์ แต่เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับ สามส่วนด้วยกัน คือ อารมณ์ การคิดวิเคราะห์ และการรับรู้เชิงปริมาณ

เนื้อหา

ในหนังสือแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

          1.คิดให้เป็นเรื่องเล่า การคิดให้เป็นเรื่องเล่า คือการเล่าเรื่องโดยตระหนักถึงความสำคัญของอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาษาในการใช้เรื่องเล่าจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเช่นกัน เรื่องเล่าที่กระตุ้นอารมณ์จะนำไปสู่การสืบค้นข้อมูลเชิงปริมาณ (ประสบการณ์) และข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (ความคิดเก่า) ทั้งนี้การให้ความสำคัญกับอารมณ์ไม่ได้หมายถึง การละเลยข้อเท็จจริงหรือการคิดตามตรรกะ ทั้งสองส่วนยังคงเป็นองค์ประกอบของเรื่องเล่าได้เช่นกัน สิ่งที่เรื่องเล่าที่ประกอบด้วยอารมณ์สำคัญเพราะจะนำไปสู่ความสร้างสรรค์โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

  1. หาเรื่องเล่า เรื่องเล่าสามารถเป็นสิ่งใกล้ๆตัว ได้แก่

(1)   “ฉันคือใคร” โดยอาจมีรายละเอียดเช่น สถานการณ์ที่ทำได้ดี สถานการณ์ที่ล้มเหลว บุคคลที่เป็นต้นแบบ หนังสือ ภาพยนตร์หรือเหตุการณ์ที่คุณประทับใจ

(2) “ฉันมาที่นี่ทำไม” ยกตัวอย่างเช่น ผู้ฟังจะได้ประโยชน์อย่างไร

(3) “เรื่องเล่าสอนใจ” เรื่องเล่าประเภทนี้เน้นการแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมใหม่สร้างผลลัพธ์ใหม่ได้อย่างไร โดยให้คิดใคร่ครวญตาม เป็นการทดลองปฏิบัติโดยใช้จินตนาการ

(4) “เรื่องวิสัยทัศน์” เป็นการเล่าเรื่องเพื่อมุ่งหวังผลลัพธ์ในอนาคต ผ่านเรื่องราวที่มีชีวิตชีวา และความรู้สึกสร้างสรรค์ ช่วยให้มองข้ามความยุ่งยาก ปัญหาซับซ้อนและความเคลือบแคลงในปัจจุบัน และพุ่งเป้าไปยังอนาคตที่มีความคุ้มค่า ซึ่งเรื่องเล่าวิสัยทัศน์จะประกอบไปด้วยแก่นสาร และวิธีการ

(5) เรื่องการปฏิบัติตามค่านิยม มักอยู่ในรูปแบบของการเปรียบเปรย เนื่องจากช่วยกำหนดกรอบความคิด และสร้างความเข้าใจ

  1. สลักเสลาให้เรื่องเล่าสมบูรณ์

          เรื่องเล่าที่สมบูรณ์คือ ผู้ฟังได้ข้อสรุปเหมือนที่เราตั้งใจจะสื่อ

          พื้นฐาน

     1. วิเคราะห์ผู้ฟังได้

  1. เรื่องเล่าประกอบด้วยแนวคิดที่มีความซับซ้อน

  2. ผู้เล่า ใส่ใจข้อเท็จจริงและพยายามเข้าใจความรู้สึกส่วนตัวให้มากขึ้น

          ลักษณะ

  1. กระตุ้นประสบการณ์ทางสัมผัสที่สำคัญที่ทำให้ผู้ฟังรับรู้และรู้สึกเหมือนกัน

  2. กระตุ้นความรู้สึกทางกายภาพ ในระดับที่รุนแรงเพียงพอที่ทำให้ประทับอยู่ในใจ

  3. มีองค์ประกอบของประสบการณ์ คือ รูป-รส-สัมผัส เพื่อให้ผู้ฟังสามารถจำลองประสบการณ์ได้

  4. มีความกระชับ และครบถ้วนไปด้วยเนื้อหา

  5. ภาคผนวกการสอนเล่าเรื่อง

การสอนเล่าเรื่องที่ดีคือการฝึกให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของใส่ใจและสามารถตรวจสอบเรื่องเล่าของตนเอง ว่า มีความตรงไปตรงมา ไม่โอ้อวดเกินจริง ประกอบด้วย ความเชื่อ ความคิดเห็น และความทรงจำ ซึ่งจำทำให้ผู้ฝึกฝนการเล่าเรื่อง จะได้ความสามารถมากกว่าการเล่าเรื่อง แต่ยังรวมถึง การพัฒนาความเป็นผู้นำ ความฉลาดทางอารมณ์ การตรวจสอบตนเอง และทักษะการสื่อสาร ถ้าผู้ใดสนใจในหนังสือมีการแนะนำกระบวนการสอนไว้อย่างละเอียด

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *