6 ระดับของนักคิดเชิงวิพากษ์ – การคิดเชิงวิพากษ์เป็นทักษะอย่างหนึ่ง สามารถพัฒนาให้เพิ่มพูนขึ้นด้วยการฝึกฝน เหมือนนักกีฬาที่หมั่นฝึกซ้อม ทำซ้ำบ่อยๆ เป็นประจำ มีความเข้าใจบริบทของพัฒนาการ จัดรูปแบบการฝึกซ้อมให้เหมาะสมกับช่วงวัย ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ก็จะเก่งแบบสุขภาพจิตแข็งแรง บทความนี้จะนำเสนอการจัดระดับของผู้มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ตามแนวคิดของ Linda Elder with Richard Paul ซึ่งเขียนระดับของนักคิดเชิงวิพากษ์ 6 ระดับ ไว้ในบทความที่มีชื่อว่า การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ : ทฤษฎีระดับขึ้น พร้อมคู่มือการปฏิบัติตัว (Critical Thinking Development: A Stage Theory with implication for instruction)
แบ่งระดับบุคคล โดยแนวคิดเชิงวิพากษ์
-
ผู้ไม่ใส่ใจที่จะคิด (The Unreflective Thinker)
นักคิดผู้ไม่ใส่ใจที่จะคิด ไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีความสามารถในการคิด เขาอาจจะมีทักษะต่างๆ ในการคิด รวมถึงมีความสามารถใช้การใช้ทักษะการคิดในบางสถานการณ์ เพียงแต่ ไม่สอดคล้อง ไม่สม่ำเสมอ ขาดการตรวจสอบความคิดด้วยตนเอง มีอคติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองสร้างปัญหาในการดำรงชีวิต
แนวทางการพัฒนาทักษะ
ผู้ที่ไม่ใส่ที่จะคิด อาจเป็นเด็กประถม มัธยม มหาลัย หรือคนทำงาน แท้จริงแล้วเขาล้วนมีทักษะในการทำงาน แต่สิ่งที่ขาดคือ “การระบุปัญหา” ส่งผลให้ไม่สามารถ “แก้ไขปัญหา” ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ครู อาจารย์ หรือหัวหน้า จึงต้องมีส่วนช่วยให้พวกเขา “ค้นพบปัญหา”
-
ผู้เริ่มรู้สึกท้าทายที่จะคิด (The Challenged Thinker)
นักคิดผู้เริ่มรู้สึกท้าทายที่จะคิด เริ่มตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของความคิดในชีวิตต่อการดำรงชีวิต เขาจึงตรวจสอบข้อบกพร่องทางความคิดของตนเอง แม้เขาจะไม่สามารถระบุข้อบกพร่องนี้ได้ แต่เขาจะเริ่มตั้งสมมุติฐาน อนุมานสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เขารู้จัก พยายามหามาตรฐาน อย่างไรก็ดี พวกเขาอาจพบว่า การรับฟังเสียงของตนเองแต่เพียงอย่างเพียงอย่างเดียวนั้นง่ายกว่า มากกว่าใส่ใจความคิดผู้อื่น
แนวทางการพัฒนาทักษะ
อุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมในระดับนี้คือ การถ่อมตนเชิงปัญญา (Intellectual Humility) คือ ผู้ที่เริ่มรู้สึกท้าทายที่จะคิด ใส่ใจทั้งความคิดของตนเองและความคิดผู้อื่น ตระหนักว่า เราไม่ได้รู้ในทุกสิ่ง มีสิ่งมากมายที่ท่านไม่รู้ สิ่งที่เราคิดอาจเป็นไปได้ทั้งถูกและผิด ดังนั้นจึงหมั่นตั้งคำถามว่า “ฉันรู้ได้อย่างไร?” “เธอรู้ได้อย่างไร?”
-
ผู้เป็นนักคิดระยะเริ่มต้น (The Beginning Thinker)
นักคิดระยะเริ่มต้นตระหนักถึงปัญหาพื้นฐานและพยายามเริ่มต้นทำความเข้าใจปัญหา รู้ตัวว่าพวกเขาจะต้องรับผิดชอบและปรับปรุงมัน เขาจึงเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดบางอย่างของตน แต่เนื่องจากมีความเข้าใจเชิงลึกที่จำกัด หรือคลังของแผนการที่ยังไม่มากพอ ดังนั้นปัญหาที่พวกเขาประสบคือ แผนการที่ยังไม่สมบูรณ์
แนวทางการพัฒนาทักษะ
แนะนำให้รู้จักความสำคัญของนิสัย นิสัยที่ดี จะก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน เปรียบเทียบนิสัย กับการพัฒนาตนเองของนักกีฬา ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มีวินัย
4.ผู้รักการฝึกฝนการคิด (The Practical Thinker)
นักคิดผู้รักการฝึกฝนการคิด เห็นความสำคัญของการพัฒนานิสัยต่อการคิด นอกจากนี้เขาเริ่มมีความพร้อมในการฝึกฝนการคิดอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น มีความรู้ในการตรวจสอบ การตั้งสมมุติฐาน การอนุมาน การเปรียบเทียบแนวคิด
พวกเขายังตระหนักถึงจิตใจของตนเองต่อการคิด เขาจึงระมัดระวังไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือไม่ยึดมั่นในความคิดของตนเอง รวมถึงตระหนักถึงความคิดของผู้อื่น ลึกลงไปจนถึงระดับจิตใจของผูอื่น
แนวทางการพัฒนาทักษะ
อุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมในระดับนี้คือ ความอดทนมุ่งมั่นเชิงปัญญา (Intellectual Perseverance) คือ ไม่ล้มเลิกอะไรง่ายๆ มีความอดทน มุ่งมั่น ต่อเป้าหมาย เชื่อมั่นในตนเองว่าตนยังทำได้ดีขึ้นอีก ตั้งใจวางแผนชีวิตของตนเอง การส่งเสริมให้มีความมุ่งมั่น ยังทำได้โดย การตอกย้ำ ด้วยการเตือนหรือตรวจสอบสิ่งที่มีผลกับความคิดตัวเองซ้ำ ปัจจัยที่มีผล การเสริมประสิทธิภาพ การคิด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การฝึกฝนเป็นไปได้ลึกขึ้น การคิดมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
-
ผู้เป็นนักคิดขั้นสูง (The Advanced Thinker)
นักคิดขั้นสูงมีนิสัยการคิดที่อย่างมั่นคง มีสติ สังเกตุความคิดตัวเอง มีความรอบคอบในการคิดในทุกๆ มิติของชีวิต สามารถจัดการอัตตาของตัวเองและธรรมชาติของคนได้อย่างเหมาะสม จึงมีใจที่เปิดกว้าง และสามารถเข้าใจปัญหาระดับลึก ด้วยการรับรู้ในระดับลึก
แนวทางการพัฒนาทักษะ
อุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมในระดับนี้คือ
- ความซื่อสัตย์เชิงปัญญา (Intellectual Integrity) ทำอย่างที่ท่านอยากให้ผู้อื่นทำกับตัวท่าน เคารพผู้อื่นอย่างท่านต้องการให้ผู้อื่นให้ความเคารพ แก่ท่าน อย่าคาดหวังว่าจะให้ผู้อื่นกระทำต่อท่านดีมากไปกว่าที่ท่านเต็มใจที่จะกระท าต่อพวกเขา
- ความรู้สึกร่วมเชิงปัญญา(Intellectual Empathy) พยายามเสมอที่จะทำความเข้าใจว่าผู้อื่นคิดและมีความรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าท่านจะไม่เห็นด้วยกับใคร จงพยายามมองความคิดนั้นในมุมมองของผู้นั้น เมื่อท่านได้พยายามมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองของผู้อื่น ท่านก็จะเห็นว่าบางเรื่องท่านเป็นฝ่ายถูกและบางเรื่องฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายถูก
3.ความมีใจที่กว้าง (Fairmindedness) จงคิดหาว่าอะไรคือความยุติธรรมในทุกๆ สถานการณ์ คิดถึงความยุติธรรมสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง อย่าคิดเฉพาะของตนเอง อย่าใส่ความอยากและความจ าเป็นของตนไว้เหนือความต้องการและความ จ าเป็นของผู้อื่น ท่านควรมีน้ำใจที่จะให้แก่ผู้ที่มีจำเป็นหรือความเดือดร้อนมากกว่าท่าน พยายาม จินตนาการว่าผู้อื่นคิดและรู้สึกอย่างไรในเรื่องนี้ ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราดูบ้าง อย่าเพิ่งท าสิ่งใดลงไป จนกว่าท่านได้ผ่านขั้นนี้ไปแล้ว จงคิดก่อนทำ อย่าทำก่อนคิด
- ผู้เป็นปรมจารย์ด้านการคิด (The Master Thinker)
นักคิดในระดับปรมาจารย์ ไม่เพียงแต่ควบคุมความคิดของตนอย่างเป็นระบบเท่านั้น แต่ยังมีการติดตามแก้ไข และคิดใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงความคิดของตน พวกเขาได้ปรับเปลี่ยนทักษะพื้นฐานความคิดลึกซึ้งจากภายใน ดังนั้น การคิดเชิงวิพากษ์สำหรับพวกเขาจึงเกิดจากความมีสติ แนวคิดนำมาใช้งานได้จริง เรียบง่าย มีประสิทธิภาพ
แนวทางการพัฒนาทักษะ
อุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมในระดับนี้คือ
- ความถ่อมตนเชิงปัญญา (intellectual humility) -ตระหนักว่าเราไม่ได้รู้ในทุกสิ่ง มีมากมายที่ไม่รู้และไม่มีทางรู้
- ความซื่อสัตย์เชิงปัญญา (intellectual integrity)- ปฏิบัติตนกับผู้อื่น เหมือนอย่างที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติตนกับเรา
- ความอดทนมุ่งมั่นเชิงปัญญา (intellectual perseverance) – มีความเพียร มุ่งมั่นตั้งใจ สอนตนเองว่า ถ้าเราตั้งใจ เราก็ทำได้ มีความผิดชอบกับชีวิตตัวเอง
- ความกล้าหาญเชิงปัญญา (intellectual courage) – พร้อมที่จะพูดหรือนำเสนอด้วยความเคารพความแตกต่าง ในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
- ความรู้สึกเชิงปัญญา (intellectual empathy) -พยายามเสมอที่จะทำความเข้าใจว่าผู้อื่นคิดและมีความรู้สึกอย่างไร แม้ในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่พยายามมองความคิดในมุมมองของผู้นั้น
- ความมีใจกว้าง (fair-mindedness.) คิดถึงความยุติธรรมในทุกสถานการณ์และกับทุกๆคน มีน้ำใจ
อ้างอิง
https://westsidetoastmasters.com/resources/thinking_tools/ch05.html
https://www.charlesleon.uk/blog/the-6-stages-of-critical-thinking2092020
https://www.criticalthinking.org/resources/articles/ct-development-a-stage-theory.shtml