การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ไม่เพียงแต่อาศัยการสอนด้านทฤษฎีการคิดแต่เพียงอย่างเดียว การมีความสามารถด้านการคิดเชิงวิพากษ์ในระดับสูงนั้น ต้องมีอุปนิสัยที่จะช่วยสนับสนุน คุณ Sandra love ได้เขียนบทความที่มีชื่อว่า How Might Principals Model the 9 Traits of Critical ThinkingTM? โดยนำเสนอ 9 อุปนิสัยที่ควรปลูกฝั่งเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์รวมถึงเคล็ดลับในการพัฒนานิสัย ผู้เขียนได้เรียบเรียง ตามความเข้าใจได้ดังนี้
อุปนิสัยที่ 1 มีความมุ่งมั่น
เป็นผู้มีความพยายามและมีความแน่วแน่ในการรับผิดชอบงานของตนเองให้ประสบความสำเร็จ
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
1.เพื่อให้สามารถรักษาความตั้งใจได้อย่างต่อเนื่อง อาจแบ่งงานจากขนาดใหญ่ให้เป็นขนาดเล็กลง ทำรายการสิ่งที่ต้องทำ ให้เช็คงานที่ต้องทำที่ละรายการ ให้กำลังใจกับตัวเองเมื่องานสำเร็จทีละขั้น
2.บางครั้งความพยายามที่ไม่ถูกทางก็ไม่ก่อให้เกิดการ เพื่อลดความเสี่ยง การมีวิธีการและทางเลือกที่หลากหลายจะช่วยให้งานมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ฝึกการระดมความคิดทั้งกับตนเอง หรือการชวนเพื่อนๆ ทีมงานมาระดมความคิด
ความคิดเห็น
ผู้เขียนเห็นด้วยกับ คุณ Sandra love การฝึกความมุ่งมั่น หลายคนอาจจะเห็นต่างว่า ความมุ่งมั่นจะมีก็เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ แต่ผู้เขียนเห็นต่างกันไป ความมุ่งมั่นไม่สัมพันธ์กับความชอบ ความชอบอาจจะเป็นตัวช่วยให้ทำงานนั้นอย่างสนุก ความมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่มีใครได้เจอสิ่งที่ชอบตลอดเวลา ดังนั้นผู้ที่มีความมุ่งมั่น เขาจะมีความตั้งใจกับทุกอย่างแม้ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม
อุปนิสัยที่ 2 หมั่นใคร่ครวญ
เป็นผู้ทบทวนความคิดและการกระทำของตนเองอยู่เสมอเพื่อนำพาชีวิตไปสู่ทางที่ดีขึ้นไป ความพยายามจำเป็นต้องอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
ให้เวลากับตัวเองในการทบทวนความเข้าใจของตนเอง ว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ พยายามนำโจทย์หรือสถานการณ์นั้นๆ มามองในมุมต่างๆ ลองเขียนลงบนสมุด เพื่อให้เห็นภาพรวมชัดขึ้น ลองเล่าหรือปรึกษาคนรอบข้างเพื่อให้ได้ทบทวนความคิด
ความคิดเห็น
อุปนิสัยข้อนี้ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็ผิดหมดทั้งแถว หรือ ขึ้นบันได้ผิดอัน การเดินบนทางที่ถูกตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ง่าย ที่จะตัดสินใจถูก ดังนั้น การมีอุปนิสัยหมั่นใครครวญ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เคล็ดลับส่วนตัวหนึ่งของผู้เขียนคือการทำสมาธิ
อุปนิสัยที่ 3 รักการปรับตัว
เป็นผู้มีความยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวและปรับกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
ฝึกขอบคุณ คนที่เสนอความคิดเห็นต่างๆ คนที่แนะนำ วิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เจอสิ่งที่ดีกว่า
ความคิดเห็น
การปรับตัว เริ่มต้นจากการตามทันความคิด ความรู้สึกข้างในและเข้าใจสิ่งเหล่านั้น เข้าใจในสถานการณ์ แผนการและวิธีการที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ จากเหตุปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งคนส่วนมากจะรู้สึก แต่ไม่ยอมรับ การปรับตัว เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
อุปนิสัยที่4 ใส่ใจในการสื่อสาร
เป็นผู้มีความสามารถในการพูด ถ่ายทอดความคิดและข้อมูล ได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น แม่นยำ
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
การสื่อสาร แท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงภาษาพูด แต่ยังรวมถึงภาษากายและภาษาใจ ทบทวนว่าสิ่งที่เรานำเสนอผ่าน ภาษาพูด ภาษากาย และภาษาใจ เป็นสิ่งเดียวกัน การสื่อสารยังรวมถึงการฟังอย่างตั้งใจ นอกจากนี้ การฝึกเขียนหรือทำวิดีโอ ก็จะช่วยในการจับประเด็นและเพิ่มความสามารถในการสื่อสาร
ความคิดเห็น
ถ้าใช้วัตถุดิบดี อาหารที่ปรุงออกมาก็จะอร่อย ฉันใด อยากเก่งพูด ต้องฝึกฟัง อยากเก่งเขียน ต้องฝึกอ่าน ฉันนั้น ผู้เขียนเริ่มต้นจากการให้ความสำคัญกับการอ่านและฟัง แต่จากประสบการณ์ ผู้เขียนพบว่า ฝั่งขาออกก็สำคัญ คือการเขียน และการพูดด้วย ควรฝึกไปควบคู่กัน
อุปนิสัยที่ 5 ความคิดเชื่อมโยง
เป็นผู้มีความสามารถในการเชื่อมโยงต่อความรู้เดิมไปสู่ความรู้ชุดใหม่
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
การชื่นชมเมื่อเห็นการเชื่อมโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง เช่น แรงบันดาลใจในวิชาเคมี เชื่อมโยงกับงานอดิเรกการทำอาหาร เป็นต้น และการสนับสนุน กระตุ้น ให้เกิดความคิดเชื่อมโยง ด้วยเรื่องเล่า เพลง หนัง ที่จะช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ
ความคิดเห็น
ทุกอย่างในโลกมีความสัมพันธ์กันอยู่เสมอ ศาสตราจารย์เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lolenze นักฟิสิกศ์ ชาวอเมริกัน ได้นำเสนอ ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก(The Butterfly Effect) โดยอ้างถึง ทฤษฎีโกลาหล Chaos Theory โดยตัวทฤษฎีเองกล่าวถึง ตัวแปรเล็กน้อยที่เป็นเงื่อนไขแรกของระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ อาจส่งผลต่อตัวแปรขนาดใหญ่ในพฤติกรรมระยะยาวของระบบได้
อุปนิสัยที่ 6 รักการทำงานเป็นทีม
เป็นผู้สามารถร่วมงานกับผู้อื่นเพื่อทำให้ผลงานออกมาดีที่สุด
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
การเข้าใจผิด การทำงานพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะมีความผิดพลาดบ้าง เมื่อผิดพลาด สิ่งที่สำคัญคือแก้ไข และพยายามต่อไป การทำงานร่วมกัน สิ่งสำคัญควรให้กำลังใจกันและกัน รับฟังความคิดเห็น ความรู้สึก ข้อเสนอแนะ ให้กำลังใจ กันและกัน
ความคิดเห็น
คำพูดเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล ที่ไม่ต้องเสียเงินแม้แต่นิดเดียว
อุปนิสัยที่ 7 ใฝ่รู้
เป็นผู้รักการเรียนรู้ โดยการหมั่นสอบถาม และหมั่นหาความรู้จากแหล่งอื่นๆ รอบตัว
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
การสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ การตั้งคำถาม การกล้าพูด กล้าคุย จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการใฝ่รู้ อยากศึกษาเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในปัจจุบัน โลกอินเตอร์เน็ต สนับสนุนให้คนตั้งคำถาม กล้าคิด มากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงเป็นความโชคดีของคนในยุคปัจจุบัน
อุปนิสัยที่ 8 รักการตรวจสอบ
เป็นผู้ที่แสวงหาวิธีการ เครื่องมือ ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
การตรวจสอบเป็นการแสดงออกถึง การมีความตั้งใจแสวงหาทางที่ถูกต้องอย่างระมัดระวัง มีการประเมินอยู่เสมอ ไม่ด่วนตัดสินใจ การตรวจสอบแสดงถึงความอดทนทางจิตใจ ตั้งใจไปในทางที่ถูกต้องให้ดีขึ้น ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการสนับสนุน และให้รู้และแนวทาง อย่างเหมาะสม
ความคิดเห็น
การเดินทางต้องมีแผนที่ เราต้องรู้จุดที่ตัวเองอยู่ และรู้จักเป้าหมายปลายทาง การทำงานก็เช่นกัน ตัวชี้วัดที่ดี จะทำให้เห็นภาพรวมต่างๆชัดขึ้น และรู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ
อุปนิสัยที่ 9 มีความคิดสร้างสรรค์
เป็นผู้ใช้ความรู้และจินตนาการในการนำเสนอและการถ่ายทอด
เคล็ดลับในการพัฒนาอุปนิสัย
หมั่นแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ความคิด ทำกิจกรรม เพื่อประมวลความคิด ให้ตกตะกอน โดยเริ่มทำจากกลุ่มเล็กๆ
ความคิดเห็น
ส่วนตัวผู้เขียนพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จได้ง่าย การจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้จะอยู่ภายใต้บรรยากาศที่สบาย ผ่อนคลาย เป็นระเบียบ ผู้เขียนจึงพยายามจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงามอยู่เสมอ
อุปนิสัยทั้ง 9 ประการนี้ ช่วยสนับสนุนการคิดเชิงวิพากษ์ การฝึกฝนทีละเล็กละน้อย เป็นประจำ สม่ำเสมอ จะช่วยให้มีการคิดเชิงวิพากษ์ดีขึ้น
อ้างอิง
How Might Principals Model the 9 Traits of Critical Thinking™?