7 ขั้นตอนการคิดเชิงวิพากษ์

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เป็นทักษะที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน  เมื่อเราประสบปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เราไม่คาดฝัน การจะแก้ปัญหาได้ เราต้องประเมินก่อนจึงหาทางแก้ เราจึงถูกท้าทายให้ต้องพยายามเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ยิ่งมีความเข้าใจสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ การแก้ปัญหาก็จะยิ่งดีขึ้นตาม อย่างไรก็ดี บางครั้งปัญหามีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมองผ่านหลายๆมุมมอง ผ่านกรอบความคิดของหลายๆแนวคิด ไม่ใช่มองผ่านประสบการณ์ของเราแต่เพียงลำพังเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด สำหรับทุกทุกคน ในสถานการณ์นั้น ๆ ดังนั้น การตัดสินใจที่ดี จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในทันที แต่จะเกิดขึ้นในสมองของเราอย่างมีขั้นตอน เป็นระบบ

ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์จึงเป็นทักษะที่ต้องใช้การฝึกฝน และเข้าใจการทำงานของสมองและความคิด ยกตัวอย่างเช่น การคิดจะดีได้ต้องมีวัตถุดิบ หรือมีข้อมูล การจัดการความคิดได้ต้องมีความเข้าใจ การจัดการข้อมูลได้ต้องมีการจัดลำดับและแบ่งหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น  ซึ่งการฝึกการคิดเชิงวิพากษ์อย่างเป็นขั้นตอนนี้ จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นระบบ ใช้เหตุผลได้ดี เข้าใจและเข้าถึงมุมมองที่แตกต่าง หลากหลาย

การคิดเชิงวิพากษ์มี 7 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : หาความรู้ (Knowledge)

วิสัยทัศน์หรือแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง จะเกิดขึ้นได้เกิดจากจุดเริ่มต้นอย่างแรก คือ การเข้าใจว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร ปัญหาที่เราต้องการแก้ไขคืออะไร

                ในขั้นตอนนี้ จึงเป็นการระบุปัญหา และรวบรวมข้อมูล ผ่านชุดคำถามเช่น เราจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่าอะไร สิ่งนี้เกิดขึ้นที่ไหน อะไรคือประเด็นสำคัญหลัก เป็นต้น  ขั้นตอนนี้ มีเป้าหมายที่ต้องการ 2 อย่างด้วยกันคือ เข้าใจปัญหา และเข้าใจว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องแก้ปัญหานั้น ๆ

กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์

            ขั้นตอนที่ 2 : ทำความเข้าใจ (Comprehension)

                เมื่อเราระบุปัญหาได้แล้ว ในขั้นตอนนี้คือการเข้าใจสถานการณ์และความเป็นจริงเหล่านั้น ข้อมูลต่าง ๆที่ได้ทำการศึกษา หรือรวบรวมมา โดยการนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดเรียงประเภท ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากฝ่ายขาย ข้อมูลจากฝ่ายการตลาด หรืออาจแบ่งตามประเภทเช่น ตัวเลข ภาพ เป็นต้น

การคิดเชิงวิพากษ์

                ขั้นตอนที่ 3 : การประยุกต์ (Application)

                หลังจากที่เราเข้าใจข้อมูลทั้งลักษณะ แหล่งที่มา ต่อมาคือการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลและแหล่งที่มาเหล่านั้น โดยใช้ลักษณะข้อมูล กฎ นิยาม ในการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ในขั้นตอนนี้ เครื่องมือที่นิยมใช้ก็คือ การทำMind Map ด้วยการหาความสัมพันธ์ต่างๆ เชื่อมกับปัญหาหรือเป้าหมายที่เราต้องการ

              ตัวอย่างคำถามเพื่อหาความสัมพันธ์ เช่น ปัญหานี้เกิดจากอะไร สามารถยกตัวอย่างได้หรือมั้ย เราใช้เครื่องมือใดบ้างในการจัดการ การตั้งคำถามเหล่านี้จะทำให้ได้เห็นปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประเด็นของที่เราต้องการแก้

การคิดเชิงวิพากษ์

                ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ (Analysis)

                การวิเคราะห์คือการชำแหละข้อมูลต่างๆ ลงเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อพิจารณาอย่างละเอียด หาหาสิ่งที่เป็นปัจจัย หรือสาเหตุที่มีผลต่อปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไข เครื่องมือที่นิยมใช้คือ ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

            ตัวอย่างคำถามเพื่อการวิเคราะห์ : การจัดลำดับความสำคัญ, หากเปรียบเทียบ A กับ B มีความเห็นว่าอย่างไร, ทางเลือก A กับ B แตกต่างกันอย่างไ เป็นต้น กระบวนการนี้จะช่วยให้เห็น ไอเดียหรือชุดวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา

การคิดเชิงวิพากษ์

                ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์ (Synthesis)

                การสังเคราะห์ คือการเอาความรู้ที่ได้ มาวางแผนเพื่อการลงมือปฏิบัติ  ลงตารางการทำงาน รวมถึงประเมินสถานการณ์ อาจใช้ Flow Chart หรือ SWOT เพื่อเขียนแผนภาพในการทำงานแต่ละขั้นตอน

การคิดเชิงวิพากษ์

                ขั้นตอนที่ 6 การลงมือทำ (Action)

                ในขั้นตอนนี้คือ การนำแผนปฏิบัติงานที่ออกแบบไว้ดีแล้ว มาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราระบุไว้ขั้นตอนที่ 1  

การลงมือทำ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ถ้าการทำงานเป็นการทำงานเป็นทีม มีการทำงานเชื่อมโยงกัน ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าจุดเชื่อมโยงระหว่างงานแต่ละแผนกเป็นไปได้อย่างลงตัว ไม่มีสะดุด

การคิดเชิงวิพากษ์

              ขั้นตอนที่ 7 การประเมิน (Evaluation)

                แม้ว่าเราจะได้วิธีการเพื่อการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว ในส่วนที่ 7 คือการต่อยอดความคิดที่ได้ ด้วยการประเมินผลลัพธ์ หลังลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบกระบวนการทั้งหมดอีกครั้ง ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร ซึ่งในขั้นตอนการประเมินนี้ ควรทั้งประเมินด้วยตัวเอง และถามความเห็นจากคนรอบข้าง

การคิดเชิงวิพากษ์

                จะเห็นได้ว่า การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นกระบวนการคิดที่เป็นมีขั้นตอน ไม่ง่าย คือ ไม่เกิดจากการด่วนคิดหรือด่วนสรุป ไม่ยาก คือ ถ้าได้ทำก็ทำได้ เพียงแต่อาศัยการใจเย็น ค่อยๆ พิจารณา เปิดใจกว้าง การคิดเชิงวิพากษ์ ถูกเรียกว่าเป็น การคิดชั้นสูง (High order of Thinking) เพราะอาศัยการคิดย่อยๆ หลายๆรูปแบบเป็นรากฐาน อย่างไรก็ดี ในมุมมองของผู้เขียน ถ้าการคิดเชิงวิพากษ์จะเป็นการคิดชั้นสูงได้ ก็เพราะผู้คิดมีความใจสูง มีความปรารถนาจะเข้าใจผู้อื่น และปรารถนาที่จะทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นอย่างสุจริตใจ.

 

 นอกจากนี้ เรายังมี คู่มือการฝึกฝนทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ให้ดาวน์โหลด คลิ๊ก!

        

 

 

 

อ้างอิงจาก https://www.designorate.com/steps-effective-critical-thinking/