ทิศทางพระพุทธศาสนาในศตรวรรษที่ 21 ในมุมมองของท่านดาไลลามะ

ปรากฏการณ์เรื่องวิทยาศาสตร์ทางสมอง (Cognitive Science) การศึกษาทางไกล (Education techonology) ส่งผลให้การเรียนรู้ถูกเชื่อว่าเป็นสิ่งที่แยกออกจากประสบการณ์ มนุษย์สามารถหาเหตุผล สร้างความเข้าใจ และรู้สึก ผ่านภาพ สื่อ สิ่งพิมพ์ และวิดีโอต่างๆ เป็นต้น พัฒนาการความรู้ที่เกิดจากการอาศัยข้อมูลเป็นฐานแบบวิทยาศาสตร์ส่งผลถึงพระพุทธศาสนา แนวความคิดเรื่องตัวตนของมนุษย์กับประสบการณ์ กล่าวคือ มนุษย์เชื่อในความสามารถในการใช้เหตุผลของตนเองเพื่อเข้าถึงความเป็นจริง มากกว่าการมีประสบการณ์ตรง และในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ตัดสินผู้อื่นรวมถึงพระพุทธศาสนาโดยการใช้เหตุผล มากกว่า ความเชื่อ พิธีกรรม หรือการสวดอ้อนวอน

 

ท่านดาไลลามะได้ให้สัมภาษณ์ในงาน Perfection of Wisdom debates ที่ Spituk Monastery เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ว่า

 

The Buddha taught according to his own experience. A 21stcentury Buddhist understands that the Buddha’s teaching has nothing to do with faith, rituals and blessings

 

คำถามก็คือ ทำไมมนุษย์ถึงไม่เข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า?

แน่นอนก็คือ นอกจากที่มนุษย์ทั่วไปยังไม่มีประสบการณ์ทางพระพุทธศาสนาเหมือนพระองค์ แต่สิ่งที่พิเศษมากกว่านั้นคืออะไร และถ้าไม่มีความศรัทธา พิธีกรรรมและการสวดอ้อนวอน สิ่งใดจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจคำสอนของพระองค์ได้… สิ่งนั้นก็คือ **การให้เหตุผล**

ในการศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสายวัชรญาณ จะมีการฝึกเรื่อง การโต้วาที (Debate) เพื่อพัฒนาการให้เหตุผลให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และปรับความเห็นที่ผิด ซึ่งรูปแบบการศึกษาแบบโต้วาทีนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 14 โดย Tsongkapa ในสำนักของ Gelugpa หรือ นิกายหมวกเหลือง

 

การฝึกโต้วาทีแบบทิเบตมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาได้อย่างไร และต่างจากการให้เหตุผลแบบอื่นอย่างไร?
การฝึกการโต้วาทีนอกจากจะสร้างความเข้าใจและความสามารถในการให้เหตุผล รูปแบบการฝึกยังสัมพันธ์กับการใช้ร่างกายและการควบคุมอารมณ์ ในการตอบปัญหา (Decision Making) การเรียนรู้ในรูปแบบนี้ถูกเรียกว่า ความรู้ความเข้าใจเป็นตัวเป็นตน (Embodied Cognition) หรือ Enaction

 

 การฝึกในรูปแบบนี้ดีอย่างไร?

เนื่องจากการเรียนรู้ของมนุษย์ สมองไม่ได้สามารถทำงานได้เหมือนคอมพิวเตอร์ คือประมวลจากข้อมูล สมองมีประสิทธิภาพมากกว่านั้นในการสร้างสรรค์ ด้วยพลังแห่งจิต ซึ่งพลังแหล่งจิตนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสัมพันธ์กับร่างกายอย่างถูกต้อง หรือก็คือ การมีสติกับสมาธิ นั่นเอง

สำหรับการฝึกแบบทิเบตจะมีรูปแบบอย่างไรนั้น และจะช่วยทำให้เข้าใจประสบการณ์ของพระสัมสัมพุทธเจ้า ได้จริงหรือไม่ รอติดตามชมกันในตอนต่อไปนะคะ

 อ้างอิง
1. :Dalai Lama 21st-century Buddhists should look beyond faith
2. The Practice of the Debate of the Tibetan Buddhism as a Speace of Artificail Intelligence

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *