ความคิดจะให้ยิ่งแตกชัดเจน ต้องอาศัยการขบคิด ไตร่ตรอง ทดลอง ปฏิบัติ สืบสวนหรือสืบความคิดไปเรื่อย
การสืบค้นเป็นกระบวนการที่อาศัยความสืบเนื่อง ใช้การค้นคว้า สังเกตและการเก็บข้อมูลเป็นขั้นๆ ทำไปที่ละขั้นตอนจนเกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เด็กในระดับประถมยังอาจไม่สามารถที่จะเชื่อมต่อความคิด หรือค้นคว้า สังเกตได้เป็นขั้นๆ จนเกิดความเข้าใจ ดังนั้น จึงต้องมีการช่วยจากผู้ปกครองหรือคุณครู ที่จะช่วยทำให้การใฝ่รู้ของเด็กมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะนำเสนอ 4 ระดับการสืบค้นในทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบคำถามและตัวอย่างกิจกรรม
สิ่งที่สำคัญของกระบวนการคือให้ความสนใจกับการสืบเนื่องของข้อมูลที่เด็กๆจะได้รู้เพิ่มในแต่ละขั้นตอน ดังนั้นจะมีทั้งคำถามนำทาง คำถามแนะนำ ซึ่งทำให้กิจกรรม วิทยาศาสตร์ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีรายละเอียดดังนี้
ระดับที่ 1: เบื้องต้นเพื่อสร้างการรู้ ( Confirmation Inquiry)
การที่จะทำให้เด็กๆ เกิดการความรู้ ต้องให้เด็กๆได้ลงมือทำ แต่เนื่องจากในขั้นต้นเด็กๆจะยังไม่มีความรู้อะไร ในขั้นตอนแรกจะเป็นการให้ทั้งคำถาม กระบวนการ และผลลัพธ์ของการทดลอง เพื่อเป็นการให้ความรู้ปูทาง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องความหนาแน่น กระดาษสามารถลอยบนอากาศได้หรือไม่ อาจจะมีการทดลองและให้แข่งขันกันพับเครื่องบิน ผลลัพธ์ก็คือ กระดาษสามารถลอยได้บนอากาศในช่วงขณะนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นกับรูปทรง
ระดับที่ 2 : ฝึกคิดกระบวนการ (Structures Inquiry)
ในระดับนี้จะฝึกให้เด็กอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง เด็กต้องทำการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจ โดยมีตัวช่วยคือคำถามและกิจกรรมจากผู้ปกครองหรือคุณครู ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆว่าเครื่องบินรูปทรงไหนที่จะบินได้ดีที่สุด เพราะอะไร ปีกเครื่องบินควรเป็นอย่างไร และทำอย่างไรถึงจะคงทน
ระดับที่ 3 : กระตุ้นการใฝ่รู้ (Guided Inquiry)
เมื่อถึงขั้นตอนนี้เด็กจะกล้าอธิบาย มีอุปนิสัยของการสังเกตดีขึ้น เราจะทำการกระตุ้นให้สังเกตสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น คิดให้มากขึ้น ด้วยการตั้งคำถามและให้เด็กหาวิธีทำด้วยตนเอง ทั้งนี้ยิ่งกระตุ้นได้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งมีข้อมูลมากขึ้น เข้าใจในสิ่งนั้นถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ขั้นตอนนี้แม้การหน้าที่การคิดจะเป็นของเด็กมากขึ้น แต่ต้องอาศัยครูในการประคองกิจกรรมด้วยการตั้งคำถาม
ระดับที่ 4 : บูรณาการทั้งระบบ (Open Inquiry)
โดยเริ่มจากตั้งคำถาม ออกแบบและสรุปผลการทดลอง วิเคราะห์ผลลัพธ์ด้วยตนเอง
การเข้าใจระดับขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครองและครู สามารถพาเด็กทำกิจกรรม โดยที่เด็กยังรู้สึกสนุกและท้าทาย เพราะไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป ประสบการณ์ที่สนุกในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจะช่วยให้เด็กใฝ่รู้ และสนใจในการศึกษาในขั้นต่อๆไป
อ้างถึง บทความ the many levels of inquiry โดย Heather Banchi และ Randy Bell