มนุษย์ในทรรศนะของจอห์น ดิวอี้

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ผู้นำคนสำคัญของการศึกษาประสบการณ์นิยม ( Experimentalism) (หรือเรียกว่า ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)) แนวคิดการศึกษาที่ได้รับความแพร่หลายสุดแนวคิดหนึ่ง

ปรัชญาการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ เกิดจากมุมมองต่อมนุษย์แตกต่างจากในอดีต จอห์น ดิวอี้เชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ โดยธรรมชาติตามนิยามของจอห์น ดิวอี้คือ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ (Natural Transactions) ธรรมชาติตามนิยามของจอห์น ดิวอี้มี 3 อย่างด้วยกัน คือ

1. วัตถุทางกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น ก้อนหิน ดวงดาว น้ำ
2. สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย (Psycho – Physical) ได้แก่ พืชและสัตว์ ทั้งหลาย
3. สิ่งที่มีจิตใจ ได้แก่ มนุษย์ รวมถึง ประสบการณ์ของมนุษย์

จากการแบ่งข้างต้น จะเห็นได้ว่า มนุษย์ พืช สัตว์ รวมถึงวัตถุทางกายภาพ เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน ไม่มี ความแตกต่างระหว่าง กาย-จิต, ตัวรู้และวัตถุ (Subject and Object)

ลักษณะสำคัญคือ ธรรมชาติทั้ง 3 ประเภทนี้ คือ

1. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเครื่องมือเพื่อวัดความจริง หรือ จัดเป็นพลังงานของสัต (Being) ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่แทรกอยู่ทั่วไป
2. มีความไม่แน่นอน (Contingency) โลกเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว
3. ไม่มีความจริงเชิงอุตระ (Transcendental Being) ทุกอย่างถูกรวมอยู่ในขอบข่ายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ (Natural Phenomena)
4. มีขอบเขตไม่จำกัด เปิดกว้าง สำหรับรองรับสิ่งใหม่ๆ
5. สรรพสิ่งไม่มีจุดหมายที่ตายตัว ไม่มีสาเหตุสุดท้าย มีสาเหตุประสิทธิภาพ หรือสาเหตุทางจักรกล คือ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสิ่งภายนอกที่มีส่วนผลักดันให้สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ก็ต้องอยู่กับสรรพสิ่งนั้นๆ ด้วยว่า จะมีปฏิกิริยา (Interact) ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

มนุษย์กับจุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายของมนุษย์ ตามแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ มีลักษณะดังนี้คือ “จุดหมายทุกอันเป็นจุดหมายที่มนุษย์ตั้งใจไว้ กล่าวคือจุดหมายไม่ใช่จุดหมายอุดมคติตามแนวคิดของกรีก จุดหมายของดิวอี้จึงมีลักษณะไม่ตายตัว สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ และเป็นผลจากการไตร่ตรอง (Reflection) เขากล่าวว่า มนุษย์เท่านั้นที่จะใช้เงื่อนไขจากวัตถุ (Matter) ไปสู่จุดมุ่งหมายโดยไม่ใช้ (Means) เป็นการหลอกลวงตนเอง กล่าวคือมนุษย์ต้องยอมรับการปฏิบัติการของจิต

 

อ้างอิง

1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) 
2. พวงแก้ว ลิมปิสุรีย์ , วิทยานิพนธ์ ทัศนะเรื่อง “ประสบการณ์” ในปรัชญาของจอห์น ดิวอี้, หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *