หากกล่าวถึงการโต้วาทีที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ย่อมนึกถึงช่วงระยะเวลาสังคายนาครั้งที่ 3 ที่มีการวาทะระหว่างฝ่ายเถรวาทกับนิกายต่างๆ ในเรื่องคำสอน จนเกิดเป็นคัมภีร์กถาวัตถุ แต่หากกล่าวถึงจุดเริ่มต้นในพระพุทธศาสนาว่ากำเนิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น สิ่งนี้คงต้องย้อนไปสมัยพุทธกาล
พระพุทธศาสนาวัชรญาณ หรือพระพุทธศาสนาสายทิเบตได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่คำสอนเพื่อช่วยเหลือคนให้พ้นจากความทุกข์อยู่นั้น แต่เนื่องจากสภาพสังคมของประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีหลากหลายความเชื่อและลัทธิ ดังนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีความจำเป็นที่ต้องอธิบายเพื่อแสดงความชัดเจนถึงมุมมอง รวมถึงการพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบและลึกซึ้ง การประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาในยุคสมัยนั้น แสดงให้เห็นว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นนักโตวาทีที่มีความสามารถ ในการอธิบายเชิงถามตอบ
การโต้วาทีได้พัฒนาอย่างมากในทิเบต รวมถึงการเรียนตรรกศาสตร์เช่นเดียวกัน พิสูจน์ได้จากการประลองวิวาทะ ครั้งใหญ่ที่วัดซัมเย เรียกว่า Samyé Debate ในคริสต์ศักราชที่ 792 ยุคสมัยของพระเจ้า Trisong Detsun ระหว่างพระทิเบต ที่มีชื่อว่า Kamalashila กับพระนิกายเซนที่มีชื่อว่า Hva-shang Mahayana ปรากฏว่าสำนักทิเบตชนะ ทั้งนี้เพราะในสำนักจีนเน้นอภิธรรม และไม่เน้นตรรกศาสตร์ เช่นเดียวกันในสายเถรวาท สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอธิบายและการตอบปัญหาในพระสายทิเบต อย่างไรก็ดี การโต้วาทะในทิเบต แท้จริงแล้วไม่ได้มีไว้เพื่อการแข่งขันหรือการเอาชนะ แต่ไว้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้ศึกษาว่าสิ่งที่เข้าใจนั้นถูกต้อง หากผิดจะได้แก้ไขให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อการสืบต่อพระพุทธศาสนาที่ยืนยาว
หลักการว่าด้วยการโต้วาทะ ปรากฏในคัมภีร์ สัปตนทศภูมิศาสตร์ หรือโยคาจารภูมิศาสตร์ (ยู่แคซือหลุง) ของนิกายโยคาจาร ว่าด้วยการโต้วาทะ และระเบียบของการโต้วาทะ โดยพระไมเตรยะรจนาปรกณ์ พระไมเตรยะรจนาปรกณ์ อันได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์อารยวาจาปกรณ์ศาสตร์และมหายานสัมปริครหศาสตร์ของพระอสังคะ คัมภีร์ สัปตนทศภูมิศาสตร์ หรือโยคาจารภูมิศาสตร์ มีรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบการโต้วาทะดังนี้
1. เรื่องที่จะโต้วาทะ – ควรเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เรื่องไร้สาระควรหลีกเลี่ยง
2. สถานที่โต้วาทะ – ควรจัดขึ้นต่อหน้าผู้รู้หรือนักปราชญ์ หรือต่อหน้าผู้ที่มีอำนาจในบ้านเมือง ไม่ควรจัดตามใจชอบ เพราะเป็นการโต้เพื่อรักษาหลักการพุทธศาสนา
3. วิธีการโต้วาทะ – มีการตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐาน โดยการตั้งข้อเสนอ การให้เหตุผล การยกตัวอย่าง การยืนยันตัวอย่าง การยกตัวอย่างไม่ถูกต้องเพื่อเทียบเคียง การทำเหตุผลและตัวอย่างให้แจ้ง การอ้างอิง และการยกพระสูตรปกรณ์มาอ้างให้ข้อเสนอสอดคล้องกับพุทธธรรม
4. คุณสมบัติของผู้โต้วาทะ – ต้องมีความรอบรู้ ไม่ใช้ภาษาต่ำช้า ให้เกียรติฝ่ายตรงข้าม กล้าหาญ พูดต่อเนื่อง มีวาทศิลป์
5. การตัดสินแพ้ชนะ – ผู้คัดค้านยอมรับข้อเสนอว่าแพ้ ผู้โต้ไม่อาจแก้ต่างข้อเสนอตัวเองถือว่าแพ้ หรือ ผู้โต้พูดนอกเรื่องถือว่าแพ้
6. การเข้าร่วมเวทีโต้วาทะ – พึ่งระลึกเสมอว่าการโต้เป็นเพื่อประโยชน์ตน ผู้เถียงและผู้รับฟัง ตระหนักในการใช้เหตุผล
7. ความมั่นใจของผู้โต้วาทะ – ผู้โต้มีความมั่นใจ อาจหาญ อันเนื่องมาจากศึกษาธรรมะมาอย่างดี
อ้างอิง
1. https://www.tibettravel.org/tibet-travel-advice/monk-debate-in-tibet.html
2. http://www.rigpawiki.org/index.php?title=Samy%C3%A9_Debate
3. https://is.gd/W7YZep
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบ
1. https://asiasociety.org/blog/asia/watch-tibetan-buddhist-debate-pits-defender-vs-challenger
2. https://www.himalayan-dreams.com/samye-monastery-the-cradle-of-tibetan-buddhism
3. https://terebess.hu/zen/mesterek/Moheyan.html