ฝึกการฟังอย่างตั้งใจเบื้องต้น สำหรับเด็ก

การฟังอย่างตั้งใจ

      การที่คนเราจะอยู่ร่วมกันได้ต้องเข้าใจกัน การเข้าใจกันได้ต้องมีการสื่อสารเชิงลึก อาศัยการฟังอย่างตั้งใจ คือ รู้จักจังหวะเป็นผู้พูดและจังหวะเป็นผู้ฟัง

ในการทำกิจกรรมสำหรับเด็ก สิ่งที่สำคัญคือการฝึกการอยู่ร่วมกัน เด็กอาจจะยังไม่ตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูด สนใจแต่ประเด็นของตนเอง เมื่อไม่ตั้งใจฟังจึงไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการนำเสนอ และไม่เกิดความเข้าใจกันและกัน (ขาดทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง)

 

การฝึกให้เด็กรู้จักฟัง เริ่มต้นจากการฝึกสนทนาเป็นคู่ ด้วยคำถามในรูปแบบขอข้อมูล โดยถามตอบไปทีละคำถาม ด้วยรูปแบบคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า หรือจะเป็นอย่างไร…. ถ้า?” ยกตัวอย่างเช่น

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากรู้เวลา?

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากกินก๋วยเตี๋ยว?

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากทำก๋วยเตี๋ยว?

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณง่วง?

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า   คุณทำเงินหาย?

 

ตัวอย่างบทสนทนาก็อาจจะเป็นเช่น

A : จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากรู้เวลา?

B: ฉันก็จะมองไปที่กำแพง

A : จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากกินก๋วยเตี๋ยว?

B:  ฉันก็จะวิ่งไปขอเงินแม่

A : จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณอยากทำก๋วยเตี๋ยว?

B:   ฉันก็จะวิ่งไปขอเงินแม่ (เพื่อไปซื้อก๋วยเตี๋ยว 555)

A: จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณง่วง?

B:   ฉันก็จะรีบทำงานให้เสร็จ

A:  จะเกิดอะไรขึ้นถ้า   คุณทำเงินหาย?

B:   ฉันก็จะวิ่งไปหา

การฝึกถามตอบในคำถามสั้นๆ เช่นนี้จะทำให้เด็กต้องตั้งใจฟัง และตอบสนองอย่างรวดเร็ว มีสมาธิในแต่ละคำถาม นอกจากนี้เด็กยังได้แลกเปลี่ยนความเห็น แนวทาง ในรูปแบบที่สนุกสนาน ทำให้สร้างความสนิทสนม ความใส่ใจระหว่างกัน

 

เครดิต Turn-taking Tasks, Lifting Listening Levels จาก the philosophy man